ปรัชญาการทำงาน
เรามุ่งมั่นทำงานด้วยแนวคิดหลักที่สำคัญ

โจทย์ทางสังคม
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วบนโลกใบนี้ เรายังคงมองเห็นมุมที่เป็นปัญหาหรือ
โจทย์ทางสังคมที่ฝั่งรากลึกอย่างมาอย่างยาวนาน นับจากอดีตและกำลังก่อตัวมากขึ้นเรื่อยๆ
ในปัจจุบัน
โจทย์ทางสังคมที่ฝั่งรากลึกอย่างมาอย่างยาวนาน นับจากอดีตและกำลังก่อตัวมากขึ้นเรื่อยๆ
ในปัจจุบัน
ขยายมุมมอง…พลิกแนวคิด

ด้วยความเชื่อที่ว่า การเรียนรู้และเข้าถึงการแก้ไขปัญหาสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีกระบวนการ และยุทธศาสตร์สำคัญ รวมไปถึงการมีความคิดสร้างสรรค์ในการขยายมุมมองในการทำงานที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อพลิกแนวคิดในการทำงาน ที่นำไปสู่การค้นพบโอกาสและการแก้ไขปัญหาให้มากขึ้นด้วย
ทรัพยากรที่ใช้งานไม่เต็มที่

เมื่อเกิดการร่วมมือกัน จะทำให้เห็นสัดส่วนในระบบนิเวศน์ความร่วมมือนี้ชัดเจน ว่ามีส่วนใดที่ควรเพิ่ม ควรพัฒนา เป็นการรักษาสมดุลเพื่อให้ทรัพยากรที่อยู่ในกรอบการทำงานร่วมกันนี้ ทำงานในบทบาทหน้าที่ของตนอย่างเต็มประสิทธิภาพ หรือจะเรียกกระบวนการนี้ว่าสร้างบาลานซ์ความร่วมมือ เพื่อนำไปสู่การบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตรงกัน
นวัตกรรมทางสังคม

จากโจทย์ทางสังคม จุดประกายให้เกิดแนวคิดมุมมองใหม่ที่ชักชวนให้ร่วมตระหนักคุณค่าและความสำคัญของโจทย์ทางสังคมนั้นๆ นำไปสู่ความร่วมมือร่วมใจที่จะทำประโยชน์ จนเกิดเป็นเครือข่ายความร่วมมือใหม่ที่แลกเปลี่ยนความคิด สร้างแรงบันดาลใจ จุดประกายการเปลี่ยนแปลงสังคมให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเรื่อยๆ เราเรียกกระบวนการที่เกิดขึ้นนี้ว่า นวัตกรรมทางสังคม
มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม
ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2555
ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2555
มีเป้าหมายสำคัญ เพื่อสร้างนวัตกรรมในงานพัฒนาสังคม
เน้นการผลักดันให้เกิดกิจการเพื่อสังคมหรือธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise – SE)
ที่ขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมอันเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคม และชุมชน
เน้นการผลักดันให้เกิดกิจการเพื่อสังคมหรือธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise – SE)
ที่ขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมอันเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคม และชุมชน
คณะกรรมการมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม

รายชื่อคณะกรรมการ
คุณอภิชาติ การุณกรสกุล
ประธานกรรมการ มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม
คุณสุชาย วัฒนตฤณากุล
กรรมการ มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม
คุณชมพรรณ กุลนิเทศ
กรรมการ มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม
คุณกรรชิต สุขใจมิตร
กรรมการ มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม
คุณสุนิตย์ เชรษฐา
กรรมการ มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม
คุณสัมฤทธิ์ สว่างคำ
กรรมการ มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม
นายชยุต จินตรัศมี
กรรมการ มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม
นางสาวอุรุชา ชาติกานนท์
กรรมการและเหรัญญิก มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม
คุณวิเชียร พงศธร
ที่ปรึกษา มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม
แผนงานคนพิการ (การจ้างงานรูปแบบใหม่)
ด้วยสถานประกอบการในประเทศไทยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ด้วยการจ้างคนพิการเข้าทำงานในอัตราส่วน 100:1 โดยภาคธุรกิจเอกชนทั้งระบบ จะต้องจ้างงานคนพิการรวมทั้งสิ้นประมาณ 55,000 อัตรา แต่ในระหว่างปี 2557-2559 เกิดการจ้างงานและส่งเสริมอาชีพคนพิการเพียงปีละประมาณ 35,000 อัตรา จำนวนที่เหลืออีกกว่า 20,000 อัตราที่จ้างได้ไม่ครบ บริษัทต่างๆ ต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในอัตรา 109,500 บาท
ต่อคน ต่อปี ทำให้มีเงินเข้าไปสะสมในกองทุนปีละกว่า 2,000 ล้านบาท (ปัจจุบันกองทุนมีเงินอยู่แล้วกว่า 10,000 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นทุกปี) แต่ในสถานการณ์จริงของสังคมยังมีคนพิการในวัยทำงานทั่วประเทศจำนวนกว่า 350,000 คน ต้องการโอกาสมีอาชีพและมีงานทำ เพราะพวกเขาเหล่านั้นไม่มีความพร้อมที่จะเข้ามาทำงานในเมืองซึ่งเป็นแหล่งงาน อันเนื่องมาจากข้อจำกัดทางกายภาพ การเดินทางและทักษะความรู้ (คนพิการ 90% มีการศึกษาเพียงระดับประถมหรือต่ำกว่า และอาศัยอยู่ในชนบทที่ไม่ใช่แหล่งงาน)


เพื่อช่วยให้คนพิการที่อยู่พื้นที่ห่างไกลได้เข้าถึงโอกาสมากขึ้น ในปี 2558 - 2559 มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม (โดยการสนับสนุนของ สสส.) ได้นำร่องร่วมกับบริษัท 88 แห่ง จ้างงานคนพิการเพื่อทำงานในชุมชนและส่งเสริมอาชีพคนพิการกว่า 1,277 คนทั่วประเทศ (ทดแทนการนำเงินส่งเข้ากองทุน) ส่งผลให้เม็ดเงินกว่า 120 ล้านบาทไปถึงมือคนพิการโดยตรงผ่านการทำงานและประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับบริบทชีวิตในภูมิลำเนาของคนพิการ ทำให้พึ่งพาตนเองได้อย่างมีเกียรติศักดิ์ศรีทัดเทียมบุคคลทั่วไป โดยมีบริษัทจดทะเบียนร่วมนำร่องหลายแห่ง
ผลการประสานงานของมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม ในปี 2558-2559

ทั้งนี้ยังมีบริษัทจดทะเบียนอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถจ้างงานคนพิการได้ครบจึงต้องส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา 34 ทุกปี (ประมาณการว่าสูงถึงกว่า 1,000 ล้านบาท) ซึ่งมีศักยภาพที่จะเข้าร่วมโครงการและสนับสนุนคนพิการให้มีอาชีพและมีงานทำได้อีกกว่า 10,000 อัตรา โดยบริษัทไม่ได้มีภาระทางงบประมาณเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด อีกทั้งยังเป็นการขยายงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทให้กว้างขวางขึ้น มูลนิธินวัตกรรมทางสังคมและภาคีมีเป้าหมายร่วมกับกระทรวงแรงงานและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ขับเคลื่อนให้เกิดการจ้างงานและส่งเสริมอาชีพคนพิการในปี 2559 - 2560 อีก 10,000 อัตรา จึงใคร่ขอความกรุณาบริษัทพิจารณาเข้าสนับสนุนโครงการที่เป็นประโยชน์อย่างสูงต่อคนพิการที่ยังขาดโอกาสนี้อย่างทั่วถึง
เปลี่ยนชีวิต ขับเคลื่อนสังคม
มูลนิธินวัตกรรมทาง
สังคม
งานของเรา
ด้วยแนวคิดหลัก มูลนิธิฯจึงดำเนินงานเพื่อสร้างให้เกิดการบรรลุถึงผลลัพธ์ (Outcome) และผลกระทบ (Impact) ที่มีคุณค่าสูงต่อสังคม ปัจจุบันมูลนิธิฯ มี “แผนงาน” สำคัญ จำนวน 5 แผนงาน ได้แก่
1.
แผนงานพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม ด้านการส่งเสริมการตลาดเพื่อสังคม เน้นการจัดตั้งกลไกหรือหน่วยงานสำหรับสนับสนุนให้องค์กรต่างๆ สามารถทำการสื่อสารและทำการตลาดเพื่อสังคม ในงานที่ต้องการนำเสนอต่อสังคม อย่างได้ผล และอย่างมีประสิทธิภาพ
2.
แผนงานพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้พิการ เน้นการจัดตั้งศูนย์บริการอาชีพสำหรับผู้พิการแบบครบวงจร เพื่อส่งเสริมให้ผู้พิการมีงานทำ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองให้สามารถใช้ชีวิตอิสระ เข้าถึงปัจจัย 4 ได้อย่างเหมาะสม และพึ่งพาตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรี
3.
แผนงานพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เน้นการจัดตั้งบ้านพักสำหรับผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น มีระบบรองรับที่มีคุณภาพ และทั่วถึง โดยจะทำบ้านพักสำหรับผู้สูงอายุที่มีฐานะดี แล้วนำรายได้ไปจัดทำบ้านพักสำหรับผู้สูงอายุมีรายได้น้อย ที่มีคุณภาพชีวิตที่ใกล้เคียงกัน
4.
แผนงานพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กก่อนวัยเรียน เน้นการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนที่มีคุณภาพ เพื่อส่งเสริมให้เด็กก่อนวัยเรียน มีระบบรองรับที่มีคุณภาพ และทั่วถึง สามารถเตรียมความพร้อมให้กับเด็กก่อนวัยเรียนที่มีจำนวนมาก ให้มีพัฒนาการทางกาย ใจ สมอง และการเรียนรู้ ที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
5.
แผนงานพัฒนาพลังพลเมือง เพื่อเสริมสร้างสังคมเข้มแข็งเป็นสุข เน้นการเสริมสร้างบทบาทของคนในสังคม โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ให้มีจิตอาสา มีการทำความดี เห็นความสำคัญและตระหนักใน “ความเป็นพลเมือง” ที่มีส่วนร่วมสร้างสังคมเข้มแข็งเป็นสุข ตลอดจนได้ลงมือปฏิบัติการเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้น่าอยู่ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่กระตือรือร้น
ปรัชญาการทำงาน
เรามุ่งมั่นทำงานด้วยแนวคิดหลักที่สำคัญ

โจทย์ทางสังคม
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วบนโลกใบนี้ เรายังคงมองเห็นมุมที่เป็นปัญหาหรือ
โจทย์ทางสังคมที่ฝั่งรากลึกอย่างมาอย่างยาวนาน นับจากอดีตและกำลังก่อตัวมากขึ้นเรื่อยๆ
ในปัจจุบัน
โจทย์ทางสังคมที่ฝั่งรากลึกอย่างมาอย่างยาวนาน นับจากอดีตและกำลังก่อตัวมากขึ้นเรื่อยๆ
ในปัจจุบัน
ขยายมุมมอง…พลิกแนวคิด

ด้วยความเชื่อที่ว่า การเรียนรู้และเข้าถึงการแก้ไขปัญหาสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีกระบวนการ และยุทธศาสตร์สำคัญ รวมไปถึงการมีความคิดสร้างสรรค์ในการขยายมุมมองในการทำงานที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อพลิกแนวคิดในการทำงาน ที่นำไปสู่การค้นพบโอกาสและการแก้ไขปัญหาให้มากขึ้นด้วย
ทรัพยากรที่ใช้งานไม่เต็มที่

เมื่อเกิดการร่วมมือกัน จะทำให้เห็นสัดส่วนในระบบนิเวศน์ความร่วมมือนี้ชัดเจน ว่ามีส่วนใดที่ควรเพิ่ม ควรพัฒนา เป็นการรักษาสมดุลเพื่อให้ทรัพยากรที่อยู่ในกรอบการทำงานร่วมกันนี้ ทำงานในบทบาทหน้าที่ของตนอย่างเต็มประสิทธิภาพ หรือจะเรียกกระบวนการนี้ว่าสร้างบาลานซ์ความร่วมมือ เพื่อนำไปสู่การบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตรงกัน
นวัตกรรมทางสังคม

จากโจทย์ทางสังคม จุดประกายให้เกิดแนวคิดมุมมองใหม่ที่ชักชวนให้ร่วมตระหนักคุณค่าและความสำคัญของโจทย์ทางสังคมนั้นๆ นำไปสู่ความร่วมมือร่วมใจที่จะทำประโยชน์ จนเกิดเป็นเครือข่ายความร่วมมือใหม่ที่แลกเปลี่ยนความคิด สร้างแรงบันดาลใจ จุดประกายการเปลี่ยนแปลงสังคมให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเรื่อยๆ เราเรียกกระบวนการที่เกิดขึ้นนี้ว่า นวัตกรรมทางสังคม
มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม
ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2555
ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2555
มีเป้าหมายสำคัญ เพื่อสร้างนวัตกรรมในงานพัฒนาสังคม
เน้นการผลักดันให้เกิดกิจการเพื่อสังคมหรือธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise – SE)
ที่ขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมอันเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคม และชุมชน
เน้นการผลักดันให้เกิดกิจการเพื่อสังคมหรือธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise – SE)
ที่ขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมอันเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคม และชุมชน
คณะกรรมการมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม

รายชื่อคณะกรรมการ
คุณอภิชาติ การุณกรสกุล
ประธานกรรมการ มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม
คุณสุชาย วัฒนตฤณากุล
กรรมการ มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม
คุณชมพรรณ กุลนิเทศ
กรรมการ มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม
คุณกรรชิต สุขใจมิตร
กรรมการ มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม
คุณสุนิตย์ เชรษฐา
กรรมการ มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม
คุณสัมฤทธิ์ สว่างคำ
กรรมการ มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม
นายชยุต จินตรัศมี
กรรมการ มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม
นางสาวอุรุชา ชาติกานนท์
กรรมการและเหรัญญิก มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม
คุณวิเชียร พงศธร
ที่ปรึกษา มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม
แผนงานคนพิการ (การจ้างงานรูปแบบใหม่)
ด้วยสถานประกอบการในประเทศไทยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ด้วยการจ้างคนพิการเข้าทำงานในอัตราส่วน 100:1 โดยภาคธุรกิจเอกชนทั้งระบบ จะต้องจ้างงานคนพิการรวมทั้งสิ้นประมาณ 55,000 อัตรา แต่ในระหว่างปี 2557-2559 เกิดการจ้างงานและส่งเสริมอาชีพคนพิการเพียงปีละประมาณ 35,000 อัตรา จำนวนที่เหลืออีกกว่า 20,000 อัตราที่จ้างได้ไม่ครบ บริษัทต่างๆ ต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในอัตรา 109,500 บาท
ต่อคน ต่อปี ทำให้มีเงินเข้าไปสะสมในกองทุนปีละกว่า 2,000 ล้านบาท (ปัจจุบันกองทุนมีเงินอยู่แล้วกว่า 10,000 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นทุกปี) แต่ในสถานการณ์จริงของสังคมยังมีคนพิการในวัยทำงานทั่วประเทศจำนวนกว่า 350,000 คน ต้องการโอกาสมีอาชีพและมีงานทำ เพราะพวกเขาเหล่านั้นไม่มีความพร้อมที่จะเข้ามาทำงานในเมืองซึ่งเป็นแหล่งงาน อันเนื่องมาจากข้อจำกัดทางกายภาพ การเดินทางและทักษะความรู้ (คนพิการ 90% มีการศึกษาเพียงระดับประถมหรือต่ำกว่า และอาศัยอยู่ในชนบทที่ไม่ใช่แหล่งงาน)

เพื่อช่วยให้คนพิการที่อยู่พื้นที่ห่างไกลได้เข้าถึงโอกาสมากขึ้น ในปี 2558 - 2559 มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม (โดยการสนับสนุนของ สสส.) ได้นำร่องร่วมกับบริษัท 88 แห่ง จ้างงานคนพิการเพื่อทำงานในชุมชนและส่งเสริมอาชีพคนพิการกว่า 1,277 คนทั่วประเทศ (ทดแทนการนำเงินส่งเข้ากองทุน) ส่งผลให้เม็ดเงินกว่า 120 ล้านบาทไปถึงมือคนพิการโดยตรงผ่านการทำงานและประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับบริบทชีวิตในภูมิลำเนาของคนพิการ ทำให้พึ่งพาตนเองได้อย่างมีเกียรติศักดิ์ศรีทัดเทียมบุคคลทั่วไป โดยมีบริษัทจดทะเบียนร่วมนำร่องหลายแห่ง
ผลการประสานงานของมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม ในปี 2558-2559

ทั้งนี้ยังมีบริษัทจดทะเบียนอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถจ้างงานคนพิการได้ครบจึงต้องส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา 34 ทุกปี (ประมาณการว่าสูงถึงกว่า 1,000 ล้านบาท) ซึ่งมีศักยภาพที่จะเข้าร่วมโครงการและสนับสนุนคนพิการให้มีอาชีพและมีงานทำได้อีกกว่า 10,000 อัตรา โดยบริษัทไม่ได้มีภาระทางงบประมาณเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด อีกทั้งยังเป็นการขยายงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทให้กว้างขวางขึ้น มูลนิธินวัตกรรมทางสังคมและภาคีมีเป้าหมายร่วมกับกระทรวงแรงงานและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ขับเคลื่อนให้เกิดการจ้างงานและส่งเสริมอาชีพคนพิการในปี 2559 - 2560 อีก 10,000 อัตรา จึงใคร่ขอความกรุณาบริษัทพิจารณาเข้าสนับสนุนโครงการที่เป็นประโยชน์อย่างสูงต่อคนพิการที่ยังขาดโอกาสนี้อย่างทั่วถึง
เปลี่ยนชีวิต ขับเคลื่อนสังคม
มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม
งานของเรา
ด้วยแนวคิดหลัก มูลนิธิฯจึงดำเนินงานเพื่อสร้างให้เกิดการบรรลุถึงผลลัพธ์ (Outcome) และผลกระทบ (Impact) ที่มีคุณค่าสูงต่อสังคม ปัจจุบันมูลนิธิฯ มี “แผนงาน” สำคัญ จำนวน 5 แผนงาน ได้แก่
1.
แผนงานพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม ด้านการส่งเสริมการตลาดเพื่อสังคม เน้นการจัดตั้งกลไกหรือหน่วยงานสำหรับสนับสนุนให้องค์กรต่างๆ สามารถทำการสื่อสารและทำการตลาดเพื่อสังคม ในงานที่ต้องการนำเสนอต่อสังคม อย่างได้ผล และอย่างมีประสิทธิภาพ
2.
แผนงานพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้พิการ เน้นการจัดตั้งศูนย์บริการอาชีพสำหรับผู้พิการแบบครบวงจร เพื่อส่งเสริมให้ผู้พิการมีงานทำ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองให้สามารถใช้ชีวิตอิสระ เข้าถึงปัจจัย 4 ได้อย่างเหมาะสม และพึ่งพาตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรี
3.
แผนงานพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เน้นการจัดตั้งบ้านพักสำหรับผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น มีระบบรองรับที่มีคุณภาพ และทั่วถึง โดยจะทำบ้านพักสำหรับผู้สูงอายุที่มีฐานะดี แล้วนำรายได้ไปจัดทำบ้านพักสำหรับผู้สูงอายุมีรายได้น้อย ที่มีคุณภาพชีวิตที่ใกล้เคียงกัน
4.
แผนงานพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กก่อนวัยเรียน เน้นการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนที่มีคุณภาพ เพื่อส่งเสริมให้เด็กก่อนวัยเรียน มีระบบรองรับที่มีคุณภาพ และทั่วถึง สามารถเตรียมความพร้อมให้กับเด็กก่อนวัยเรียนที่มีจำนวนมาก ให้มีพัฒนาการทางกาย ใจ สมอง และการเรียนรู้ ที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
5.
แผนงานพัฒนาพลังพลเมือง เพื่อเสริมสร้างสังคมเข้มแข็งเป็นสุข เน้นการเสริมสร้างบทบาทของคนในสังคม โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ให้มีจิตอาสา มีการทำความดี เห็นความสำคัญและตระหนักใน “ความเป็นพลเมือง” ที่มีส่วนร่วมสร้างสังคมเข้มแข็งเป็นสุข ตลอดจนได้ลงมือปฏิบัติการเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้น่าอยู่ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่กระตือรือร้น