เปลี่ยนชีวิต ขับเคลื่อนสังคม


มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม

เกี่ยวกับเรา

คำถามที่พบบ่อย

มูลนิธินวัตกรรมทางสังคมสรรหาคนพิการมาจากที่ไหน

มูลนิธิทำงานประสานกับเครือข่ายที่ทำงานด้านคนพิการและหน่วยงานที่มีภารกิจทางสังคมในระดับชุมชนทุกจังหวัด เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรคนพิการในพื้นที่ ฯลฯ และเชื่อมโยงกับหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงสาธารณสุข ทำให้สามารถเข้าถึงคนพิการในระดับพื้นที่ทั่วประเทศผ่านเครือข่ายข้างต้น โดยเครือข่ายหน่วยงานต่างๆ เป็นผู้เปิดตำแหน่งงานให้คนพิการเข้าไปปฏิบัติงาน (โดยสถานประกอบการเป็นผู้สนับสนุนการจ้าง) ปัจจุบันมีคนพิการที่อยู่ในวัยทำงานแต่ยังไม่มีงานทำจำนวนกว่า 350,000 คน

มูลนิธิฯ มีหน้าที่อะไร และได้อะไรจากโครงการจ้างงานคนพิการ

มูลนิธิฯ ประสาน ระดมการสนับสนุนจากสถานประกอบการ โดยเชิญชวนให้เปลี่ยนจากการส่งเงินเข้ากองทุนฯ (ม.34) ไปเป็นการจ้างงานคนพิการเพื่อทำงานสาธารณประโยชน์ใกล้บ้าน (ม.33) หรือส่งเสริมอาชีพคนพิการ (ม.35) โดยมูลนิธิฯช่วยสถานประกอบการดำเนินการในทุกขั้นตอนทั้งที่เกี่ยวข้องกับคนพิการและหน่วยงานราชการ และติดตามการดำเนินการกับทุกฝ่ายตลอดโครงการ มูลนิธิฯ ขับเคลื่อนงานโดยงบประมาณสนับสนุนจาก สสส. และกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จึงสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากสถานประกอบการและคนพิการแต่อย่างใด มูลนิธิฯ มีเป้าหมายหลักเพื่อให้คนพิการมีอาชีพ มีงานทำและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

เนื่องจากคนพิการในโครงการทำงานกระจายอยู่ทั่วประเทศ จะมีการกำกับดูแลอย่างไร

กรณีคนพิการทำงานประจำหน่วยงาน ผู้ดูแลของหน่วยงานจะทำหน้าที่มอบหมายและกำกับการทำงานประจำวัน และจัดส่งรายงานให้สถานประกอบการทราบเพื่อใช้ประกอบการจ่ายค่าตอบแทนทุกเดือน กรณีออกปฏิบัติงานในชุมชนโดยการกำกับตนเอง คนพิการจะส่งสรุปบันทึกการปฏิบัติงานประจำเดือนให้ต้นสังกัดตรวจสอบก่อนส่งต่อให้สถานประกอบการเพื่อใช้ประกอบการจ่ายค่าตอบแทน กรณีส่งเสริมการประกอบอาชีพ (ม.35) คนพิการ/กลุ่มคนพิการจะส่งรายงานประกอบการเบิกจ่ายเงินสนับสนุนจากสถานประกอบการในแต่ละงวด โดยแบ่งเป็น 2-3 งวด ตามความเหมาะสมของแต่ละโครงการ การจ่ายเงินทุกกรณี สถานประกอบการโอนเงินเข้าบัญชีคนพิการ/กลุ่มคนพิการโดยตรง และได้รับเอกสารลงนามรับเงินจากคนพิการเพื่อเป็นหลักฐาน มูลนิธิฯ และเครือข่าย มีการโทรศัพท์ติดตามการปฏิบัติงานและดำเนินโครงการเป็นประจำ และมีทีมงานลงพื้นที่ตรวจติดตามงานตามความจำเป็น

การจ่ายเงินเข้ากองทุนฯ (ม.34) ต้องจ่ายเมื่อไหร่

สถานประกอบการต้องตรวจนับจำนวนพนักงานในวันที่ 1 ตุลาคม เพื่อใช้คำนวณจำนวนคนพิการที่ต้องจ้างในปีถัดไป (อัตราส่วน 100 : 1) และรายงานต่อ พก. จากนั้นต้องทำการจ้างงานคนพิการ (ม.33) และ/หรือ ทำสัญญาให้การส่งเสริมอาชีพคนพิการ (ม.35) ให้เรียบร้อยก่อนวันที่ 1 มกราคม ของปีถัดไป หากดำเนินการข้างต้นได้ไม่ครบตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด สถานประกอบการมีหน้าที่ต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนฯ (ม.34) พร้อมการยื่นรายงานต่อ พก.ภายในวันที่ 31 มกราคม กรณีนำส่งเงินล่าช้า จะมีเบี้ยปรับร้อยละ 7.5 ต่อปี

กรณีคนพิการมีเหตุจำเป็นต้องออกจากโครงการ สถานประกอบการต้องดำเนินการอย่างไร

กรณีคนพิการไม่สามารถทำงานต่อได้หรือออกจากโครงการ (โดยหน่วยงานต้นสังกัดในพื้นที่จะเป็นผู้แจ้งให้ทราบ) จะต้องหาคนพิการทดแทนและแจ้งต่อสำนักจัดหางานภายใน 45 วัน (มูลนิธิฯ และภาคีเครือข่ายได้มีการจัดเตรียมคนพิการที่ประสงค์เข้าร่วมโครงการเพื่อทดแทนภายในเวลาที่กำหนด) กรณี ม.35 คนพิการที่มาทดแทนจะรับช่วงสัญญาต่อจากคนพิการเดิมที่ออกไป กรณี ม.33 คนพิการที่มาทดแทนรับค่าจ้างเมื่อเริ่มทำงาน

กรณีจ้างงานคนพิการตาม ม.33 ต้องมีสวัสดิการอย่างไร

การจ้างงานคนพิการต้องเป็นการจ้างงานที่ไม่มีการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการโดยไม่เป็นธรรม คนพิการต้องเข้าสู่ระบบประกันสังคมและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน กรณีเกิดอุบัติเหตุในระหว่างปฏิบัติงาน พนักงานได้รับความคุ้มครองตามกองทุนทดแทนฯ

ผลทางภาษีของ ม.33 ม.34 ม.35 แตกต่างกันอย่างไร

ม.33 หักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า ม.34 ถือเป็นเงินบริจาค หักเป็นรายจ่ายได้ 1 เท่า ม.35 หักเป็นรายจ่ายปกติ 1 เท่า

สนใจเข้าร่วมโครงการ สร้างงาน สร้างอาชีพคนพิการ 10,000 อัตรา ต้องทำอย่างไร

บริษัทส่งใบตอบรับเข้าร่วมโครงการมาที่มูลนิธิฯ โทรติดต่อ 02-279-9385
หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
คุณจินรัตน์ เทียมอริยะ มือถือ 081-617-0606 E-mail: [email protected]
คุณสัมฤทธิ์ สว่างคำ มือถือ 089-114-7742 E-mail : [email protected]
คุณชยุต จินตรัศมี มือถือ 061-789-2539 E-mail : [email protected]
คุณจิรากัญ มากบุญธรรม มือถือ 086-185-3354 E-mail : [email protected]
ทีมงานจะสรรหาโครงการที่เหมาะสมนำเสนอภายใน 1 สัปดาห์

จากการประสานงานของมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม
วันนี้คนพิการมีอาชีพ มีงานทำแล้ว กว่า

จากบริษัทที่ให้การสนับสนุน กว่า 437 บริษัท

นาวาอากาศเอก ภราดร คุ้มทรัพย์

ผู้ดูแลโครงการส่งเสริมอาชีพคนพิการ งานเกษตรเทคโนโลยีใหม่ จ.ชัยนาท

(งานสนับสนุนการประกอบอาชีพ)

ผู้ดูแลโครงการส่งเสริมอาชีพคนพิการ งานเกษตรเทคโนโลยีใหม่ จ.ชัยนาท (งานสนับสนุนการประกอบอาชีพ) “ ผมเป็นทหารอากาศ ขับเครื่องบิน F16 ประจำการอยู่กองบิน 103 จ.นครราชสีมา นั่นคือความภูมิใจที่สุดของผม เวลาอยู่บนฟ้าเราสามารถทำได้ทุกอย่าง มันเป็นความรู้สึกที่ดี เมื่อ 20 กว่าปีก่อน ระหว่างที่ขับรถไปกองบิน103 มีเด็กนักเรียนวิ่งตัดหน้า ทำให้รถเสียหลักไปชนกับต้นไม้ กระดูกสันหลังข้อ C5 C6 แตก กดทับเส้นประสาท ทำให้ร่างกายตั้งแต่คอลงไปไม่สามารถควบคุมได้ ตอนนั้นท้อมากไม่รู้จะใช้ชีวิตต่อยังไง จนกระทั้งวันที่ดีที่สุด คือวันที่ได้กลับไปใส่ชุดยูนิฟอร์ม ท.อ. อีกครั้ง พอได้ทำงาน ทำให้คิดว่าชีวิตเรามีค่า เลยนึกถึงคนพิการคนอื่นๆ เขาก็น่าจะคิดเหมือนเรา ผมทำโครงการนี้ขึ้นเพราะอยากช่วยคนพิการรุนแรง แม้จะขยับไม่ได้ แต่ทำงานได้เพราะมีเทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาช่วย เรารวมกลุ่มคนพิการได้ 10 คน มีคนพิการหลายประเภท เมื่อได้รับเงินสนับสนุนเข้ากองกลางกลุ่ม เราก็จัดสรรมาทำไร่สวนแบบผสมผสาน มีทั้งปลูกเมล่อน โรงเพาะเห็ด บ่อเลี้ยงปลา โดยมีคนพิการจัดการดูแลทั้งหมดทุกขั้นตอน ความสุขของผมในตอนนี้คือการได้ทำงานแล้วกลับบ้านไปนั่งกินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตากับครอบครัวถ้าสังคมให้โอกาสที่ดีที่เหมาะสม มันช่วยส่งเสริมให้คนพิการมีโอกาสยืนได้ด้วยตัวเอง ที่สำคัญคือสร้างคุณค่า ไม่ใช่มูลค่านะ บริษัทอาจจะทำงานมีมูลค่าเงินทอง มหาศาลและพร้อมจะส่งเงินเข้ากองทุน แต่ถ้าเขาทำตรงนี้เขาจะได้คุณค่ามากมายโดยที่เขาไม่รู้ เมื่อเขาทำเขาถึงจะเห็น...”

คุณสังข์ทอง สาระสินธุ์

ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ประจำ รพ.สมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์

(งานสนับสนุนหน่วยงานประจำ)

คนเรา...ต่อให้ร่างกายพิการ แต่ความฝันยังคงแข็งแรงได้เสมอ คงจริงที่ว่า คนเราเลือกเกิดไม่ได้ แต่เราเลือกที่จะเป็นได้ คุณสังข์ทอง มีร่างกายพิการแต่เลือกที่จะดำเนินชีวิตอย่างคนทั่วไป ด้วยหัวใจเข้มแข็ง “ผมเห็นคนอื่นเขาเป็นมากกว่าเรา เขายังทำได้” นี่อาจเป็นประโยคสวยๆ ที่ได้ยินกันบ่อย แต่ความจริงน้อยคนนักที่ทำได้ หนึ่งในนั้นคือคุณสังข์ทอง ถึงแม้จะเกิดมาพิการ ก็ไม่คิดที่จะอยู่บ้านเฉยๆ เขาสนใจอิเล็กทรอนิกส์ และฝันว่าอยากประกอบอาชีพนี้ คุณสังข์ทองเริ่มต้นความฝันด้วยการเข้าเรียนที่ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการจังหวัดขอนแก่น หลังจากเรียนจบเขาพบว่าตัวเองยังไม่เก่งพอที่จะซ่อมเครื่องไฟฟ้าได้จริง เขาท้อแต่ไม่ถอย สอบเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนแสงทองเทคโนโลยี ซึ่งมีเครื่องไม้เครื่องมือพร้อมกว่า ครั้งนี้เขาจบมาด้วยคะแนนเป็นที่ 3 ได้ทำงานที่ชอบสมใจ แต่ชีวิตมันไม่ได้ง่ายอย่างนั้น หลังจากทำงานร้านซ่อมอิเล็กทรอนิกส์ที่บุรีรัมย์อยู่ 7 ปี เขาก็ต้องพบกับบททดสอบอีกครั้ง เขาถูกไฟช็อตจนตัวกระเด็น ขาทั้งสองข้างและหลังหัก ต้องรักษาอยู่ 2 ปี นี่เป็นบททดสอบที่แม้แต่คนปกติยังยากที่จะลุกขึ้นยืนไหว แต่คุณสังข์ทองไม่ใช่แค่ลุกขึ้นได้ เขายังกล้าที่จะก้าวต่อ ปัจจุบัน ทุกเช้าคุณสังข์ทองจะขับรถ ATV ของตัวเองเป็นระยะทาง 15 กิโล ไปทำงาน รับผิดชอบงานในแผนกซ่อมบำรุงของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ เขาฝันว่าจะทำงานที่นี่ให้นาน มีเงินเก็บ และไม่ต้องเป็นภาระกับใคร นี่อาจเป็นความฝันพื้นๆ แต่เชื่อไหม คนปกติบางคนยังทำได้ไม่ถึงครึ่งของคุณสังข์ทอง

คุณพ่อจุฬา ศรีกำพล

กลุ่มภูไทไม้งาม โครงการส่งเสริมอาชีพคนพิการ

(งานสนับสนุนการประกอบอาชีพ)

คนดีๆ หลายคนคิดแค่สร้างอาชีพให้ตัวเอง แต่คนพิการบางคน กลับคิดสร้างอนาคตให้คนอื่น ก่อนที่คุณพ่อจุฬาจะมีอายุ 25 ปี คุณพ่อเป็นคนปกติทั่วไป มีเมีย มีลูก และหาเลี้ยงครอบครัวด้วยการรับจ้างสารพัด ทำไร่ ไถนา เหมือนกับคนไทยอีกเป็นล้านคน แต่หลังจากประสบอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์ชน และต้องรักษาตัวอยู่นานถึง 2 ปี คุณพ่อจุฬาก็กลายเป็นคนพิการ สิ่งที่พ่อจุฬาได้รับไม่ใช่เพราะว่าแขนลีบเล็กอ่อนแรงไปหนึ่งข้าง แต่คุณพ่อได้หัวใจที่เข้มแข็งเพิ่มขึ้นมาต่างหาก หัวใจที่ทำให้คุณพ่อเริ่มฝึกงานช่างไม้ด้วยตัวเอง ทั้งที่ไม่เคยมีความรู้ด้านนี้มาก่อน งานที่แม้แต่คนที่มี 2 มือบางคน ยังอาจจะรู้สึกว่ายาก แต่คุณพ่อมุ่งมั่นทำจนได้ โดยไม่เคยไปเรียนที่ไหน หรือมีใครมาสอน ฟังแล้วอาจคิดว่าเป็นมุกตลก แต่คุณพ่อยืนยันว่าเรื่องจริง คุณพ่ออาศัยดูเฟอร์นิเจอร์จากในทีวี แล้วมาแกะแบบทดลองทำเอง ด้วยกบไสไม้ที่ซื้อต่อเขามา คุณพ่อเริ่มจากการทำแคร่ขาย เงินที่ได้ค่อยๆ ซื้อเครื่องมือเพิ่ม หัดทำเฟอร์นิเจอร์ที่ยากขึ้น ซับซ้อนขึ้น แต่ไม่เคยมีชิ้นไหนที่ยากเกิน วันนี้ คุณพ่อจุฬาทำเฟอร์นิเจอร์จากไม้ได้แทบทุกอย่าง แต่ก็ยังไม่หยุด ยังคงไปดูงาน ตามร้านเฟอร์นิเจอร์มีชื่อ เพื่อสั่งสมองค์ความรู้ด้านช่างให้มากที่สุด จุดมุ่งหมายหลักไม่ใช่หาเลี้ยงชีพตัวเอง แต่เพื่อบ่มเพาะโอกาสในชีวิตให้กับคนพิการคนอื่นๆ นี่คงเป็นสิ่งปกติสิ่งเดียวที่น่านับถือในตัวพ่อจุฬา

วินัย คงประเสริฐ

ผู้ช่วยพัฒนาชุมชน สังกัดโรงเรียนประจำตำบล จ.สุพรรณบุรี

(งานสนับสนุนหน่วยงานประจำ)

“ความฝันตอนเด็กๆ ผมอยากเป็นครู ผมสนใจพวกวิชาพุทธศาสนากับประวัติศาสตร์ ทำไมไม่รู้แต่สนใจมาตั้งแต่เด็ก ผมอาจจะไม่เก่งหนังสือ แต่ความจำดี(ยิ้ม) เวลาเดินทางไปเที่ยวก็จะกลับมาจด ผมจดได้เป็นเล่มๆเลยนะ เอาไว้เล่าให้คนอื่นฟัง วันหนึ่งรู้ว่าบริษัทมิตรผลเขาเปิดรับสมัครพนักงานก็ไปสมัครกับเขา ไม่คิดเหมือนกันว่าเขาจะรับเพราะมีคนพิการสมัครเยอะ ต้องคัดคน แต่เขาก็โทรกลับมาบอกว่า ยินดีด้วยนะได้งานแล้ว… หน้าที่ของผมคือดูแลโรงเรียนบ้านแจงงาม เก็บกวาด ทำความสะอาด ดูแลแปลงผักปลอดสารพิษ ผมดีใจที่เด็กๆได้กินผักที่ผมปลูกเอง ตอนนี้ไม่พอขายหรอกครับ เพราะแค่นักเรียนกินก็หมดแล้ว บ้านกับโรงเรียนใกล้กัน ปั่นรถไปสองนาทีก็ถึง ในเวลาที่คุณครูต้องเข้าประชุมทั้งโรงเรียน ครูเขาก็ฝากให้ผมดูแลเด็กๆ ผมก็จะสอนเขาเรื่องประวัติศาสตร์ พุทธศาสนา ผมชอบเข้าโรงเรียนแต่เช้า เพราะเด็กๆชอบเข้ามาถาม “ลุงวินัย!! วันนี้จะสอนอะไรพวกหนู” ผมเลยไปหาอ่านตำราอ่านเพิ่มจะได้มีเรื่องมาเล่าให้เด็กๆฟังทุกวัน

โครงการส่งเสริมอาชีพคนพิการ กลุ่มคนพิการเลี้ยงแพะ

จ.ระยอง

(งานสนับสนุนการประกอบอาชีพ)

ความสำเร็จของที่อื่น อาจวัดด้วยการเติบโตทางรายได้ แต่ความสำเร็จของที่นี่ วัดด้วยการเติบโตไปด้วยกัน พี่สาคร หนึ่งในผู้บุกเบิกศูนย์เรียนรู้ พูดไว้ว่า “คนพิการน่ะ ถ้าไม่มีพ่อแม่เหลืออยู่แล้ว ก็ไม่มีใครเขาเอาหรอก” นี่คือความจริงอันน่าเจ็บปวดที่บอกกับเราว่า ต่อให้เดินไม่ได้ มีอวัยวะไม่ครบ แต่สิ่งที่คนพิการต้องทำให้ได้คือ ยืนด้วยลำแข้งตัวเอง และคงเป็นแรงขับดันที่ทำให้พีสาครและพวกทุ่มเทมากกว่าคนปกติหลายเท่า กลุ่มของพี่เขาลองทำมาแทบทุกอย่าง ทำสบู่แกะสลัก ทำดอกไม้จากเกล็ดปลา เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงหมู หลายอย่างล้วนล้มเหลว แต่ไม่มีสักอย่างทำให้พวกเขาล้มเลิก วันนี้ จากพื้นที่รกร้าง มีเพียงปลักควาย กลายเป็นศูนย์เรียนรู้เลี้ยงแพะเพื่อคนพิการและครอบครัวแห่งแรกของประเทศ มีโรงเรือนเป็นเรื่องเป็นราว มีห้องประชุม จัดเวิร์คช็อปเป็นประจำ และเป็นที่ฝึกอาชีพให้กับคนพิการถึง 60 ครอบครัว ได้ด้วยคนพิการล้วนๆ เริ่มต้นจากไม่มีทุน ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากใคร หากวัดตามความรู้สึกของคนทั่วไป นี่น่าจะเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จ แต่พี่สาครกลับบอกว่า ยัง! ในจังหวัดยังมีคนพิการอีกมากมาย ทั้งประเทศยังมีคนพิการอีกหลายครอบครัว ที่ยังยืนไม่ได้ จะเรียกว่าสำเร็จทุกคนต้องเดินไปได้ด้วยกัน พี่สาครฝันไว้ว่า สักวันที่นี่ จะมีโรงงานแปรรูปเนื้อแพะของตัวเอง สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า นั่นคงเป็นอีกหนึ่งวันที่ศูนย์เรียนรู้ เข้าใกล้ความสำเร็จอีกขึ้น ตามทัศนะของพี่สาคร

ใหญ่ ปวันรัตน์ คำปัน

งานรณรงค์เมาไม่ขับ โครงการส่งเสริมอาชีพคนพิการ

(งานบริการสังคม)

ไม่ว่าจะเสียแขน เสียขา ชีวิตก็หยุดไม่ได้ ตราบใดที่มีลมหายใจ ชีวิตต้องเดินต่อ จากที่เคยทำงานมีอนาคตอยู่ในสำนักงานเทศบาลเมืองมุกดาหารอยู่ 9 ปี วันหนึ่ง ทุกอย่างเกือบจบลงแค่นั้น คุณใหญ่ตกเป็นเหยื่ออุบัติเหตุเมาแล้วขับ คุณใหญ่เจ็บหนัก เดินไม่ได้ ต้องต่อท่อปัสสาวะติดกับตัว คำพูดจากหมอดูเหมือนตลก แต่ฟังแล้วเศร้าจับใจ หมอบอกว่า ถุงปัสสาวะเนี่ย คงต้องอยู่ด้วยกันไปจนตาย แต่คุณใหญ่ไม่เคยเชื่อ ตรงกันข้าม เธอเชื่อว่าตัวเองจะต้องหาย และสายปัสสาวะจะต้องหลีกทางให้กับชีวิตของเธอเพียง 4 ปีเท่านั้น เธอทำได้อย่างที่เชื่อ นี่ไม่ใช่ปาฏิหาริย์ เพราะถ้าเป็นปาฏิหาริย์ เธอคงไม่ต้องเหนื่อยยาก แต่นี่เธอกัดฟันน้ำตาเล็ด เพื่อที่จะทวงชีวิตกลับมา ทุกวันนี้ เธอเดินไม่ได้ แต่ไปไหนต่อไหนได้ไกลกว่าคนขาดี เวลา 24 ชั่วโมงต่อวัน ของคนที่ต้องใช้วีลแชร์อย่างเธอ กลับทำอะไรได้มากมาย กว่าคนที่เดินเหินได้ปกติ วันหนึ่งๆ เธอช่วยแม่เตรียมของไปขายที่วิทยาลัยประจำจังหวัด ไปรณรงค์เมาไม่ขับกับตำรวจ เป็นวิทยากรให้กับนักเรียน ไปพูดคุยเป็นกำลังใจรวมถึงแนะนำสิทธิพื้นฐานให้กับคนพิการที่โรงพยาบาล รวมถึงวางแผนที่จะสร้างเครือข่ายคนพิการที่แข็งแกร่งให้กับจังหวัดด้วย คงต้องยอมรับว่า เธอทำอะไรได้เยอะกว่าคนที่เดินเหินได้ตามอำเภอใจ นั่นคงเป็นเพราะเธอมีหัวใจที่บอกกับเธอว่า “ก้าวที่ยิ่งใหญ่ของคน ล้วนมาจากหัวใจ ไม่ใช่ขา”

โครงการจ้างเหมาบริการผู้ดูแลคนพิการทดแทนชั่วคราว

Respite Care

(งานบริการสังคม)

แม่ที่มีลูกพิการทางสติปัญญาส่วนใหญ่มีความเครียดสะสมที่เกิดจากการเลี้ยงลูก ต้องอยู่กับลูกตลอด 24 ชัวโมง เพราะลูกไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จนแม่หลายคนต้องพบจิตแพทย์ กลายเป็นปัญหาที่แก้ไม่จบ กลุ่มเรสไปท์แคร์ หรือกลุ่มชมรมผู้ปกครองเด็กพิการ เป็นกลุ่มที่เกิดจากความรักของแม่ที่มีต่อลูก เพียงคิดว่าจะทำอย่างไรให้ลูกของตนมีชีวิตที่ดีขึ้น รูปแบบการทำงานคือการรวมกลุ่มผู้ดูแลคนพิการ แล้วผลัดกันเลี้ยง ผลัดดู เพื่อให้แม่ๆได้มี "วันพักผ่อน" หลายคนอ่านมาถึงตรงนี้คงสงสัย แค่วันพักผ่อนจะสำคัญยังไง หากคิดภาพตามว่าเราต้องอยู่บ้านกับลูกที่มีอารมณ์แปรปรวนตลอดเวลา ขับถ่ายไม่เป็นเวลา แล้วอยู่อย่างนั้นเป็นหลายปี พอเห็นภาพเลยใช่ไหม การมีเวลาพักผ่อนเล็กๆของแม่จึงสำคัญ เพราะนั้นจะทำให้แม่ได้ผ่อนคลาย และได้มีเวลาให้ตัวเองได้ออกไปใช้ชีวิตตามใจ แม้เพียงระยะเวลาเล็กน้อย แต่เป็นการชาร์ตพลังที่ยิ่งใหญ่ ให้แม่ได้กลับมาทำหน้าที่ต่อไป... " เรามีลูกพิการซ้ำซ้อน รู้สึกว่าลูกเราไม่มีที่ยืนในสังคม เราเข้าใจความรู้สึกของเพื่อนๆที่มีลูกพิการเหมือนกัน เมื่อเราก้าวข้ามความพิการของลูกได้ สามารถหาที่ยืนให้ลูกได้แล้ว ก็หันกลับมาช่วยเพื่อนของเรา กลับมาช่วยสังคม " แสงเพลิน จารุสาร เลขานุการชมรมผู้ปกครองเด็กพิการภายใต้มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ

Independent Living

‘สถานภาพทางสังคม’ การสูญหายและได้คืน

(งานบริการสังคม)

สถานะความเป็นผู้ป่วยไม่ได้ช่วยส่งเสริมให้เกิดกำลังใจหรือส่งเสริมให้คนพิการเกิดความกระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรมที่มีคุณค่า น่าภูมิใจ แต่ในทางตรงข้ามจะแสดงถึงความเป็นผู้ที่ต้องการความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา มีนัยยะของความด้อยความสามารถแฝงอยู่เสมอ” บางประโยคที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ “ไอแอล การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ Independent Living of Persons with Disabilities” ซึ่งเรียบเรียงโดย กมลพรรณ พันพึ่ง สะท้อนให้เห็นข้อเท็จจริงประการหนึ่งของ “ความพิการ” ที่ไม่ใช่แค่เรื่องการสูญเสียสมรรถภาพทางร่างกายเฉพาะบุคคล แต่ยังเป็นเรื่องการให้ความหมายทางสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลถึงการริดรอนสถานภาพออกจากบุคคลที่ถูกตีตราว่า “คนพิการ” “หลังจากที่ผมพิการผมไม่อยากออกมาข้างนอกบ้าน เวลาออกมาแล้วเพื่อนบ้านเขามอง เหมือนกับเราเป็นตัวประหลาด มันทำให้ผมไม่อยากออกมานั่งแม้กระทั่งหน้าบ้าน มันทำให้เรารู้สึกว่าทำไมต้องมองเราแบบนั้น เราก็เป็นคนเหมือนกันเพียงแค่เราเดินไม่ได้เพราะประสบอุบัติเหตุ คนพิการก็เป็นคนนะ” อนันตชัย ศรีสุข ในวัย 47 ปีบอกเล่าถึงความรู้สึกการถูกลดทอนความเป็นมนุษย์ผ่านการจ้องมองของผู้คนร่วมสังคม จนทำให้เขาต้องกักตัวเองไว้แต่ภายในบริเวณบ้านนานถึง 18 ปี และพยายามฆ่าตัวตายถึง 3 ครั้ง ไม่แตกต่างจากประสบการณ์ของ นพดล ภู่บ้านใหม่ ชายหนุ่มวัย 31 ที่อุบัติเหตุจากการทำงานเมื่อ 13 ปีที่แล้วทำให้เขาต้องพิการและรู้สึกท้อแท้จนต้องหลั่งน้ำตา “ตอนพิการแรกๆ ผมก็อยู่แต่ในบ้าน นอนท้อแท้ชีวิต นอนร้องไห้ทุกคืนๆ ไม่กล้าออกไปข้างนอก พอแม่จะพาออกมาอาบน้ำผมไม่ค่อยอยากออก เพราะว่าพอคนในหมู่บ้านเดินผ่านก็จะมองแบบเหลียวหลังเลย เราก็รู้สึกเหมือนว่าเราเป็นตัวประหลาด เวลาไปหาหมอบางทีเราก็ไม่อยากจะไป” แต่ใช่ว่าคนเราจะโชคร้ายตลาดไป อนันตชัย ศรีสุข สะท้อนข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างการจ้างงานกับการได้คืนสถานภาพการเป็นหัวหน้าครอบครัวว่า “หลังจากได้รับการจ้างงานผมปลื้มใจมาก ขอบคุณบริษัท เมื่อก่อนผมไม่มีเงินผมต้องแบมือขอพี่น้องแต่ตอนนี้ผมไม่เคยขอเขาเลย ผมได้กลับมาเป็นหัวหน้าครอบครัวอีกครั้งหนึ่ง” สอดคล้องกับ นพดล ภู่บ้านใหม่ ที่ระบุว่า “หลังจากที่ได้รับการจ้างงานผมก็มีความภูมิใจ เพราะจากที่ผมเคยคิดว่าผมไร้ค่า หมดความหมาย ไม่รู้ว่าจะทำอะไร ยังไงแล้ว ไม่สามารถมีเงินมีค่าใช้จ่ายอุดหนุนให้แม่ เพราะแม่จะดูแลค่าใช้จ่ายให้กับผมและลูก แถมมีน้าที่พิการทางสมองอีกคนหนึ่ง พอมามีงานมีเงินเดือนผมก็ส่งให้แม่ แล้วก็ให้ลูก จากที่เคยเป็นภาระของแม่ ตอนนี้ก็อาจจะลดภาระของแม่ลงไปบ้างไม่มากก็น้อย ผมให้เงินแม่ทุกเดือน ให้เงินลูกสาวไปกินที่โรงเรียนทุกวัน เพื่อที่ว่าลูกสาวผมจะได้ไม่ต้องไปเอาจากแม่แล้ว” หลังจากที่กลุ่มคนพิการ 8 คนที่ได้รับการจ้างงานตามโครงการจ้างเหมาบริการการพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตอิสระคนพิการในชุมชน จากบริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการดำเนินงานเสริมพลังให้กับคนพิการตามแนวทางการดำรงชีวิตอิสระเพื่อเรียกคืนความมั่นใจในสถานภาพความเป็นมนุษย์ให้กับคนพิการแล้ว ในอีกมุมหนึ่งข้อมูลดังกล่าวยังสะท้อนให้เห็นว่าการจ้างงานคนพิการเป็นอะไรที่มากกว่าการจ่ายเงินให้กับปัจเจกบุคคลคนหนึ่ง เพราะอาชีพที่ได้มอบให้กับคนพิการนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการส่งคืนสถานภาพทางสังคมให้กับมนุษย์ซึ่งจะทำให้พวกเขาได้กลับมามีตัวตนทั้งในครอบครัวและสังคมอย่างแท้จริง ขณะเดียวกันสำหรับกลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับคนพิการ ข้อมูลจากการติดตามการดำเนินงานของกลุ่มคนพิการที่ได้รับการจ้างงานจากบริษัทเอกชนเป็นปีแรกก็คือ ‘เรา’ ทุกคนควร “เปิดโอกาสให้คนพิการล้มเหลวได้ ตัดสินใจเลือกที่จะ “เสี่ยง” ว่าจะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่สังคมอาจจะให้ความหมายว่าดีหรือไม่ดีก็ได้” เพราะนั่นถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานที่มองเห็นมนุษย์ในฐานะมนุษย์ที่มีสิทธิเลือกและมีสิทธิที่จะล้มเหลวเหมือนกันทุกๆคน … ปิดหู หลับตา แต่ขอให้เปิดใจ

กลุ่มหมอนวดตาบอด

(งานบริการสังคม)

แม้เราจะมองไม่เห็น แต่เรานวดได้ เราจับเส้นถูก เพราะมองไม่เห็นจึงต้องใช้ประสาทสัมผัสมากกว่าคนปกติ กว่าจะได้มานวดจริงๆใช้เวลาเรียนนาน ต้องสอบเอาใบประกอบวิชาชีพด้วย แต่ดีนะ เพราะเราได้ช่วยคนอื่นให้หายปวดเมื่อย “เราได้มีโอกาสเข้าสู่สังคมอีกแบบนึง ที่เราไม่เคยได้รู้จัก เราได้สัมผัสชีวิตของผู้คนที่หลากหลาย”แม้ดวงตาจะมองไม่เห็นแต่สองมือของกบได้นวดผ่อนคลายความปวดหล้าของผู้คนมาตลอด 20 ปี กบจบจากศูนย์ฝีกอาชีพตาบอดสามพราน และต่อยอดความรู้ของเธอกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในหลักสูตรนวด ความพยายามกว่า 500 ชั่วโมงที่เธอฝึกเรียนทำให้เธอได้รับใบประกอบโรคศิลป์สาขาการแพทย์แผนไทย ซึ่งปัจจุบันถูกเปลี่ยนชื่อเป็นใบประกอบวิชาชีพ 20 ปีที่ผ่านมา เธอมีรายได้จากการเฝ้ารอลูกค้ามาใช้บริการ รายได้ก็ไม่แน่นอน แต่ปีที่ผ่านมาเธอได้มีโอกาสในการส่งเสริมอาชีพภายใต้มาตรา 35 ที่มูลนิธินวัตกรรมทางสังคมช่วยเชื่อมประสานให้ ตอนนี้กบได้ถ่ายทอดความรู้สึกให้เราได้ฟังว่า “ ก่อนหน้านี้กบเป็นหมอนวด รายได้ก็ไม่แน่นอน แต่ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายออกไปมีแน่นอนทุกๆเดือน ทำให้ชีวิตรู้สึกว่าไม่มั่นคง แต่พอได้เข้ามาร่วมโครงการโดยการจ้างเหมาบริการของ บริษัท DKSH ซึ่งกบและเพื่อนๆเป็นรุ่นบุกเบิกด้วยนะ มันทำให้กบมีรายได้เพิ่ม รู้สึกถึงความมั่นคงขึ้น เพื่อนๆของกบก็ดีใจและชื่นชอบกับการได้รับโอกาสนี้ ความประทับใจจากลูกค้าที่เป็นพนักงานในบริษัทที่สะท้อนว่าดีจัง นวดสบาย เมื่อก่อนกลัวไม่กล้านวด แต่วันนี้ชอบมาก มันเป็นเสียงที่ทำให้กบและเพื่อนๆรู้สึกมีความสุข ของแถมอีกอันที่เธอเล่าด้วยความสุข เธอบอกว่า บริษัทมีใบเสนอข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ(พนักงานบริษัท) หลายเสียงบอกว่า ปีหน้า ขอแบบนี้อีกนะ” มันทำให้เธอรู้สึกดีใจและมีความสุขมาก เหนือสิ่งอื่นใด กบเล่าว่า มันไม่ใช่แค่มีรายได้ การได้เข้ามาทำงานนวดในบริษัท มันเปิดโลกใหม่ๆของเรา การได้เดินเข้าไปในบริษัท ซึ่งถ้าไม่ใช่งานนี้เราคงไม่มีโอกาสได้เข้าไป เราได้มีโอกาสเข้าสู่สังคมอีกแบบนึงที่เราไม่เคยรู้จัก เราได้สัมผัสชีวิตของผู้คนที่หลากหลาย งานทำให้เธอไปสู่สังคมที่เปิดกว้าง

แม้มองไม่เห็น แต่พวกเราปลูกผักขายได้

มูลนิธิพิทักษ์ดวงตา จ.ลำปาง

(งานสนับสนุนการประกอบอาชีพ)

“จิตวิญญาณความเป็นครู ไม่เลือนหาย” แว่วเสียงจากปลายสาย หญิงสาววัยกลางคนทีมีน้ำเสียงใสน่าฟัง และรู้สึกถึงว่าเธอกำลังพูดเปื้อนยิ้ม เธอแนะนำตัวอีกครั้งว่า ชื่อ รุ่งนภา ชื่อเล่น ชื่อรุ่ง อายุ 26 ปี รุ่งเล่าว่าห้าปีก่อนเธอเป็นผู้หญิงที่มีชีวิตปกติเหมือนคนทั่วไปและอยู่ในรั้วของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อร่ำเรียนในสาขาครูปฐมวัย อาชีพที่เธอฝันว่าจบมาเธอจะเป็นหนึ่งกำลังสนับสนุนให้การศึกษาของเด็กปฐมวัยในชุมชนของเธอมีคุณภาพได้ หากแต่เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เธอประสบอุบัติเหตุทำให้สูญเสียการมองเห็น(ตาบอด) นั่นแปลว่าวิถีปกติและสิ่งที่เธอกำลังจะเดินก้าวไปต่อ เป็นอันต้องชะงัก โลกไม่เคยใจร้าย กับจิตใจที่ไม่เคยท้อถอย ทำให้เธอลุกขึ้นสู่ด้วยการไปฝึกอาชีพกับมูลนิธิพิทักษ์ดวงตา หลักสูตรเรียนรู้อักษรเบลล์ ใช้คอมพิวเตอร์ในระบบเสียงหรือตาทิพย์ แม้เธอจะเคยมีทุนเดิมจากการได้เรียนในรั้วมหาวิทยาลัยในเรื่องการเรียนการสอน แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะสิ่งที่เธอเรียนในห้องเรียนมันต่างจากสิ่งที่เธอกำลังเผชิญอย่างสิ้นเชิง อุปสรรคยอมแพ้ต่อความมานะพยายามของเธอ ที่จะยอมรับต่อสิ่งที่เกิดขึ้นและเรียนรู้กับวิชาใหม่ๆที่จะทำให้เธอได้ยังคงความฝันได้ เธอยังสามารถสานต่อความฝันในการเป็นครูได้อย่างที่เธอต้องการ แน่นอนว่าเส้นทางของความฝันของเธอในการสร้างคนไม่เคยถูกละทิ้งและมีคุณค่าที่จะทำให้ใครๆก็เข้าใจและพร้อมจะเป็นกำลังใจให้กับเธอ ครูปุ๋ย ครูและแม่ใหญ่แห่งมูลนิธิพิทักษ์ดวงตา ไม่ละเลยหรือมองข้ามความฝันหรือความพยายามของเธอ จึงบอกเล่าให้มูลนิธินวัตกรรมทางสังคมได้รับทราบเรื่องราวของเธอ แน่นอนว่า เมื่อมูลนิธิฯได้รับรู้ เราจึงเชื่อมประสานให้เกิดการจ้างงานจากบริษัทไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ซึ่งนั้นเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้ชีวิตเธอเปลี่ยนไป เธอรู้สึกว่าเธอมีความั่นคงในชีวิต มีความสุขกับสิ่งที่ได้ทำ ท้ายสุดเธอฝากให้เรามาบอกว่า “ขอบคุณสำหรับโอกาสที่มีให้เธอ ขอบคุณไมเนอร์ ขอบคุณมูลนิธิ” (เสียงยิ้ม)

เด็กออทิสติก กับงานบริการชั้นเลิศ

มูลนิธิพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินท์ จ. เชียงใหม่

(งานสนับสนุนหน่วยงานประจำ)

บทสัมภาษณ์จาก คุณวรรณพร ถนอมธรรม อีกหนึ่งผู้ดูแลเด็กๆในสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินท์ จนเด็กๆเรียกว่า ป้าป๊อป ตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่ผันตัวเองมาเป็นอาสาช่วยเหลือเด็กพิเศษ สิ่งที่เกิดขึ้นที่เป็นรูปธรรมก็คือ การเปลี่ยนแปลงของน้องๆเด็กพิเศษที่มีพัฒนาการดีขึ้น และความสุขของพวกเค้าจากการที่สังคมให้การยอมรับ นอกจากนี้เศรษฐกิจของครอบครัวก็ดีขึ้นโดยเฉพาะน้องที่ได้รับการจ้างงาน ยกตัวอย่างเช่น น้องตาว ที่ได้รับการจ้างงานจากกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ที่เมื่อก่อนแม่ทำงานหาเลี้ยงครอบครัวอยู่คนเดียว พอน้องตาวได้ทำงาน มีเงินเดือน และดูแลตนเองได้ ก็ช่วยลดภาระครอบครัวลงได้ นอกจากนี้น้องตาวยังได้นำเงินเดือนที่ได้จากการทำงานมาช่วยเหลือครอบครัวอีกด้วย สิ่งที่น้องๆเด็กพิเศษเหล่านี้ทำ มันเกินฝันสำหรับพ่อแม่ค่ะ พอครอบครัวมีความสุขทางใจ ก็สามารถที่จะคิดทำอะไรต่อไปได้ โดยเฉพาะพ่อแม่ที่มีลูกเป็นเด็กพิเศษ เวลาลูกช่วยเหลือตัวเองได้ มีงานทำ ได้เงินเดือน ก็ค่อยหมดความกังวล ถ้าวันหนึ่งเค้าต้องจากไปก็หมดห่วง สิ่งที่เห็นตามมาอีกก็คือสังคมรอบข้างเริ่มรู้จักเด็กกลุ่มนี้มากขึ้น และเริ่มให้โอกาสพวกเขามากขึ้น นอกจากนี้ยังได้เห็นวิสัยทัศน์ของบริษัทเอกชนอื่นๆ ที่เราไม่คิดว่าเขาจะเห็นคุณค่าและให้โอกาสกับเด็กพิเศษกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นอะไรที่เรารู้สึกว่าเงินทองก็ชื้อไม่ได้จริงๆ สิ่งที่เป็นจุดแข็งของน้องๆ เด็กพิเศษเหล่านี้ก็คือ ความซื่อสัตย์ ไม่โกหก มีความอดทน มีความรับผิดชอบสูง บางครั้งถึงแม้งานจะยุ่งและเหนื่อยแค่ไหน พวกเขาไม่เคยบ่น และย่อท้อค่ะ นอกจากนี้เด็กๆพวกนี้ ไม่เคยโกงเวลา และไม่ได้อยากได้อะไรเยอะแยะ จึงทำให้เราที่อยู่ด้วยรู้สึกเย็นลง เด็กพิเศษ ถ้าเราให้พื้นที่เค้า เค้าก็ทำได้ และทำได้ดีด้วยค่ะ ดังนั้นจึงอยากจะฝากถึงบริษัทเอกชน หรือโรงแรมอื่นๆ ถ้าอยากจ้างงานเด็กพิเศษเหล่านี้ ทางสถาบันก็พร้อมที่จะฝึกเด็กพิเศษเหล่านี้ให้ไปทำงานในบริษัทหรือโรงแรมของท่าน โดยทางสถาบันฯ เป้าหมายที่จะพัฒนาเด็กพิเศษให้ไปทำงานข้างนอกได้ ซึ่งยังมีอีกหลากหลายอาชีพที่เด็กเหล่านี้สามารถทำได้ และเราก็พร้อมที่จะพัฒนาเขาหากมีความต้องการ ดังนั้นจึงอยากจะฝากว่า เพียงแค่ท่านให้โอกาส และเห็นคุณค่าของพวกเขา พวกเขาก็พร้อมที่จะออกไปทำงานให้ท่าน แต่อย่าจ้างงานพวกเขาเพราะความสงสาร เนื่องจากเขาเหล่านี้มีคุณค่า และความสามารถจริงๆ

นักกีฬายิงธนูคนพิการไทย บนสนามประลองชัยแห่งชีวิต

เมธาสินธุ์ ชัยลิ้นฟ้า

(งานสนับสนุนหน่วยงานประจำ)

“ผมจะทำให้ดีที่สุด เพราะมันเป็นงานของผม” อุบัติเหตุเพียงครั้งอาจจบความหวังของใครไปทั้งชีวิต แต่สำหรับ เมธาสินธุ์ ชัยลิ้นฟ้า 3 ครั้งกับประสบการณ์อุบัติเหตุบนท้องถนนซึ่งส่งผลให้เขาต้องพิการทางด้านการเคลื่อนไหวซ้ำแล้วซ้ำเล่า กลับทำให้เขาเลือกที่จะแสวงหาหนทางใหม่ๆ เพื่อสู้ต่อไปบนสนามประลองชัยแห่งชีวิตที่ไม่มีวันสิ้นสุด 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ก่อนการเดินทางไปสู้ศึกพาราลิมปิกเกมส์ 2016 ที่เมืองริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล ระหว่างวันที่ 7-18 กันยายน ในฐานะนักกีฬายิงธนูทีมชาติไทย เราได้มีโอกาสนัดหมายกับ เมธาสินธุ์ ณ การกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อพูดคุยถึงเส้นทางชีวิตหลังความพิการ การต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งอาชีพ และโอกาสจากการเป็นตัวแทนของคนไทยไปแข่งขันชิงชัยในเวทีระดับโลก “ผมพิการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2535 ตอนนั้นอายุ 18 ปี กำลังเรียนที่วิทยาลัยเกษตรน่าน ปวช. ปีสุดท้ายอีกประมาณ 3 เดือนจะจบ เป็นวัยรุ่นที่ค่อนข้างเกเรหน่อย กินเหล้าสังสรรกับเพื่อน แล้วขับมอเตอร์ไซค์จะออกไปซื้อเหล้า พยายามจะขับแซงรถพ่วงสิบล้อ พอถึงทางโค้งผมเร่งเครื่องแซง มีรถสวนเข้ามาเขาตบไฟสูงใส่ ผมก็หักหลบตัดหน้ารถสิบล้อลงข้างทาง รู้สึกตัวอีกทีก็อยู่โรงพยาบาล ขาหัก หมอนรองกระดูกมีปัญหา ทำกายภาพต่อมาเรื่อยๆ แต่ก็ไม่ดีขึ้น ใช้เวลาฟื้นฟูทั้งร่างกายและจิตใจ 3 ปี ผมฆ่าตัวตาย 3 ครั้งหลังจากที่รู้ตัวเองว่าผมพิการถาวร อย่างแรกที่เป็นสาเหตุให้ฆ่าตัวตายคือเรายอมรับในสิ่งที่เราเป็นไม่ได้ แต่เดิมเราสามารถทำอะไรเองได้ทุกอย่าง อยู่ๆมาวันหนึ่งทำอะไรเองไม่ได้ เพื่อนฝูงที่เคยคบกันมาก็เปลี่ยนไป สังคมที่เราเคยอยู่ประจำมันเปลี่ยน เลยเป็นเหตุที่ทำให้น้อยเนื้อต่ำใจ สาเหตุที่ทำให้เราตัดสินใจลุกขึ้นสู้อีกครั้ง มีอยู่สองกรณี ตอนนั้นผมรู้สึกว่าผมเป็นภาระให้แก่ครอบครัว ผมพยายามที่จะเปลี่ยนความคิดตัวเอง พยายามที่จะออกสู่โลกภายนอก ออกไปอยู่ตามสถานฝึกอาชีพคนพิการ อีกอันหนึ่งที่จุดประกาย วันหนึ่งผมดูรายการทีวีทไวไลท์โชว์ ของคุณไตรภพ ลิมปพัทธ์ เขาเอาคนพิการที่อยู่ปากเกร็ด นนทบุรี มาออกรายการ คนพิการคนนั้นเขาพิการแต่กำเนิด เขาใช้ได้แต่หัวกับปาก ร่างกายส่วนอื่นเขาใช้ไม่ได้ แต่เขาใช้ปากวาดรูปในหลวงโชว์ในรายการแล้วเหมือนด้วย ผมก็เลยเปลี่ยนความคิดผมเลย เพราะผมยังมีอะไรที่มากกว่าน้องเขาและผมก็มีสมองที่มันไม่ได้พิการไปกับตัวผม พอผมประสบอุบัติเหตุครั้งที่ 2 ท้อแท้เมากครับพราะผมเป็นเสาหลักที่ดูแลครอบครัว ตอนนั้นลูกคนโตผู้ชายอายุ 17-18 ปี ลูกสาวคนเล็ก 7-8 ขวบ ห่วงเพราะว่าลูกผมยังเล็ก ภาระทั้งหมดต้องตกเป็นของเมีย แล้วตัวผมก็จะเป็นภาระของเมียไปอีกนานเลย เพราะ 1 ปีที่ผมต้องอยู่บ้านเฉยๆ ช่วงนั้นผมต้องใช้เงินเข้าออกโรงพยาบาลบ่อย ขาข้างที่ประสบอุบัติเหตุต้องมาตัดออกอีกครั้ง ทำให้ใช้ชีวิตลำบากจะนั่งจะเข้าห้องน้ำจะทำอะไร มันไม่เหมือนเดิม จนกระทั่งประมาณปลายปี 2558 ผมทำงานกับมูลนิธิเมาไม่ขับโดยได้รับเงินเดือนจาก ธนาคารไทยพาณิชย์ จากการประสานของมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม แล้วก็มีคนพิการอีก 4 คนในกลุ่มของผมที่ได้รับการสนับสนุนอาชีพอิสระจากมาตรา 35 ทั้งหมดเลี้ยงหมู 50 ตัว เลี้ยงแบบรวมกัน เพื่อง่ายต่อการควบคุมดูแล เพราะผมก็คอยดูแลเขาให้ใช้เงินให้ถูกต้อง ล่าสุดขายหมู ก็ต้องดูว่าคนมาซื้อราคาเท่าไหร่ กำไรเท่าไหร่ คุณต้องหักว่าทุนอะไรเท่าไหร่ ค่าหมู ค่าอาหาร ยารักษาโรค ค่าน้ำค่าไฟต้องหักไว้เป็นทุน ส่วนกำไรจะเอาไปใช้ก็แล้วแต่ ทุกคนต้องทำตามกฎที่ตั้งไว้เพื่อไม่ให้ใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ เสร็จแล้วเราก็จะคอยรายงานเข้ามาให้มูลนิธินวัตกรรมทางสังคมได้รับทราบ” การยิ่งธนูก็เป็นอีกบทบาที่ผมภาคภูมิใจ เช้ามาทำภารกิจของตัวเองเสร็จเรียบร้อย ประมาณ 9 โมงลงมาซ้อมถึงเที่ยง แล้วก็บ่ายสองโมงกลับมาซ้อมอีกรอบถึงเย็น ส่วนวันจันทร์ พุธ ศุกร์ จะต้องเข้าโปรแกรมเวทเทรนนิ่ง อย่างซ้อมช่วงเช้าจะเป็นการเช็คฟอร์มตัวเอง บ่ายจะเริ่มเน้นเรื่องความแม่นยำ ให้มันเข้าเหลืองทั้งหมด ซ้อมอย่างนี้ทุกวัน เพราะกีฬายิงธนูเป็นการสร้างให้ร่างกายของเราจำท่วงท่าจนเกิดความเคยชิน ถ้าเราทำท่าไม่เหมือนเดิม มันก็จะไม่เข้าที่เดิม แต่ถ้ามันเหมือนเดิมทุกวันทุกครั้งมันก็จะเข้าที่เดิม แล้วมันก็เป็นการฝึกสมาธิด้วย ถ้าฟุ้งซ่านหรือมีอะไรเข้ามากวนใจเราจะยิงไม่ได้ ส่วนใหญ่แล้วนักกีฬาเมื่อเข้าไปอยู่ในเส้นมันจะต้องจัดการตัวเอง เสียงที่มันอยู่ข้างนอกเส้นอย่าให้มันเป็นปัญหา ถ้าเขาคุยกันอยู่ข้างนอกแล้วเราได้ยินขณะที่กำลังเล็งอยู่ก็จบข่าว นักกีฬาทุกคนหวังที่จะได้เหรียญทั้งนั้น ผมว่าผมจะทำให้ดีที่สุด เพราะมันเป็นงานของผม มันคืองาน คือหน้าที่ ผมต้องทำให้ดี” ใครบางคนอาจวัดผลสำเร็จของการแข่งขันด้วยรางวัลที่สัมผัสได้ในปลายทาง แต่สำหรับใครบางคนจุดเริ่มต้นของการตัดสินใจก็เพียงพอแล้วที่จะเป็นคำตอบของชัยชนะ การสั่งสมความรู้ ฝึกฝนเพื่อรอวันค้นพบโอกาส และการไม่ยอมปล่อยให้ทุกโอกาสดีๆ ที่ผ่านเข้ามาหลุดลอยไปคือตัวอย่างการใช้ชีวิตของ เมธาสินธุ์ ชัยลิ้นฟ้า ชายผู้ประกาศว่าทุกบทบาทที่เขาทำ “มันคืองาน คือหน้าที่ ผมต้องทำให้ดี” แค่นี้ก็เพียงพอสำหรับเหรียญรางวัลในสนามประลองแห่งชีวิต

เมื่อ “ภูเขา” ถูกแปลงโฉม จาก “ข่าเหลือง”สู่ “เกษตร 4.0” อาชีพที่ออกแบบโดย “คนพิการ”

“โครงการเกษตรสีเขียวผักปลอดภัย” ณ View Share Farm คือพื้นที่ที่คนพิการกลุ่มหนึ่งกำลังบ่มเพาะและเติมเต็มความฝัน และต้องการแสดงศักยภาพเพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนในสังคม เกิดการจ้างงานตามมาตรา 35 ให้คนพิการมีงานทำมากยิ่งขึ้น เมื่อผลักประตูและเดินลงจากรถพร้อมกับคณะทำงานของมูลนิธินวัตกรรมทางสังคมองค์กรที่ผลักดันการจ้างงาน สร้างอาชีพคนพิการด้วยมาตรา 33 หรือ 35 โดยให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้า จ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน ช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ นำโดย “คุณอภิชาติ การุณกรสกุล” ประธานมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม สิ่งที่ปะทะสายตาคือสีเขียวเย็นตาของต้นไม้และพืชผักนานาชนิดจากริมทางเดินบนภูเขาที่คดโค้ง เราเงยหน้ารับสายลมเย็นที่โชยผ่านต้นไม้ใบหญ้า ไกลออกไปคือเรือนเพาะชำที่รอทักทายเราอยู่ ที่นี่คือ “โครงการเกษตรสีเขียวผักปลอดภัย” ณ View Share Farm ตำบลวังหมี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา พูดให้เข้าใจง่าย คือพวกเราชวนกันไปเรียนรู้วิถีการทำเกษตรแบบ 4.0 ของคนพิการที่ได้รับการสนับสนุนจ้างงานตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญติส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจาก “บริษัท เฮชจีเอสที (ประเทศไทย) จำกัด” นั่นเอง ที่แห่งนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร เรามีโอกาสได้พูดคุยเพื่อหาคำตอบกับ “คุณพงษ์เทพ อริยเดช” ประธานชมรมเครือข่ายคนพิการ จังหวัดนครราชสีมา คุณพงษ์เทพ เริ่มเล่าให้ฟังถึงเหตุผลที่เปลี่ยนแนวคิดจากการปลูกข่าเหลืองสู่เกษตรแบบผสมผสานว่า ก่อนจะเป็นโครงการเกษตรสีเขียวผักปลอดภัย ณ View Share Farm เมื่อปี 2559 มีการรวมกลุ่มคนพิการที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาในรูปแบบสหกรณ์ จำนวน 18 คน ร่วมกันปลูกข่าเหลืองซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจ ปลูกง่ายและทำเงินได้ แต่ชีวิตไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเพราะข่าล้มตายเกือบหมด จึงเปลี่ยนมาทำเกษตรแบบผสมสานทั้ง พืชใบ พืชโรงเรือน และพืชสวน อาทิ เงาะ ลำใย กล้วย มะยงชิด เมล่อน ข่า ผักสลัด มะนาว มะเขือ ฯลฯ โดยใช้ระบบน้ำหยดพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาช่วย “ปลูกข่าไม่สำเร็จเราก็เลยคุยกับสมาชิกว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร จึงไปขอคำปรึกษาจากสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนก็ได้แนวคิดทำเกษตรแบบผสมผสานและใช้ระบบน้ำหยดโดยเริ่มต้นจากการสร้างโรงเรือนเพื่อปลูกเมล่อน” คุณพงษ์เทพ กล่าว คุณพงษ์เทพเล่าต่อว่าปัจจุบันสมาชิกที่เป็นคนพิการในกลุ่มจาก 18 คน เพิ่มขึ้นเป็น 70 คน ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ไม่หมดเท่านั้นพวกเขายังต่อยอดขยายงานคนพิการและบริการท้องถิ่นจากเกษตรกรรมธรรมดาๆ จนกลายเป็น “การเกษตรเชิงท่องเที่ยว” “บริษัทที่สนับสนุนการจ้างงานเห็นสิ่งที่เราทำจึงได้สนับสนุนและสร้างอาคารที่พักเพื่อเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมและพักผ่อนหย่อนใจ เป็นการสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง รวมทั้งให้ผู้ที่อยากมาเรียนรู้วิถีการทำเกษตรแบบคนพิการด้วย” คุณพงษ์เทพกล่าว คุณพงษ์เทพอธิบายเรื่องการจ้างงานคนพิการตามมาตรา 35 ว่า มีความจำเป็นกับคนพิการที่เข้าใจกฏหมาย นั่นหมายความว่าต้องทำให้คนพิการมีความรู้ความเข้าใจเพื่อให้มีความมั่นใจว่าจะสามารถทำงานได้ หรือมีโครงการที่น่าสนใจก่อนที่เข้าไปพูดคุยกับสถานประกอบการใกล้บ้าน “อย่าลืมว่าถ้าเลือกคนพิการทำงานจะไม่ได้งาน แต่ถ้าเลือกงานให้คนพิการ คนพิการก็จะได้ทำงานและจะได้คนพิการที่มีศักยาภาพ และต้องใกล้บ้านเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตและเป็นการสร้างความยั่งยืนได้” คุณพงษ์เทพกล่าว ไม่ใช่แค่อยากเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่สังคมมีต่อคนพิการ เขายังเชื่อว่ามีความเป็นไปได้มากมายที่เกิดขึ้นได้หากสังคมดูแลคนพิการได้ถูกวิธี “หน่วยงานที่ดูแลงานด้านคนพิการในพื้นที่ต้องเข้ามามีบทบาทและดูแลคนพิการให้ทั่วถึง ประเภทที่ว่าไฟไหม้ฟางมาช่วยเหลือแล้วหาย มีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง” คุณพงษ์เทพกล่าวทิ้งท้าย นี่จึงเป็นที่มาของโครงการเกษตรสีเขียวผักปลอดภัยที่ทำหน้าที่ในการสร้างอาชีพที่ยั่งยืน และดึงศักยภาพของคนพิการ ซึ่งถูกออกแบบด้วยหลักคิดการสร้างแลนด์มาร์ค นั่นคือต้องมีคาแรกเตอร์โดดเด่น เป็นที่สนใจ น่าจดจำ และสามารถดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาใช้งานได้จริงๆ ณ ลานดินใกล้กับโรงเรือนเพาะชำมะเขือ เราสังเกตุเห็นชายร่างเล็กกำลังสาละวนอยู่กับการผสมปุ๋ย เขาคือ “คุณประเทือง จวบกระโทก” ดูเผินๆ แทบไม่รู้เลยว่าเขาเป็นคนพิการ คุณประเทืองเล่าให้ฟังว่าเขาพิการมือตั้งแต่กำเนิด ทำให้การใช้ชีวิตค่อนข้างลำบากแต่ก็ไม่ได้ทำให้เขาท้อใจเท่ากับคำคน “ช่วงวัยรุ่นผมเคยท้อ เวลาไปไหนกับเพื่อนก็จะมีคนพูดว่าเราเป็นคนพิการ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ แต่ผมก็พยายามทำให้เขาเห็นว่าผมทำทุกอย่างได้เหมือนคนปกติ ทำงานก่อสร้างได้ ขับรถรับจ้างได้ ทำไร่ ทำสวนได้” คุณประเทืองกล่าว เขาเล่าให้ฟังถึงการตัดสินใจเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มข่าเหลืองตั้งแต่ปี 2559 ว่าต้องการพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่าคนพิการก็มีศักยภาพ สามารถทำงานหาเลี้ยงตนเองได้ และต้องการให้บริษัทเอกชนหันมาจ้างงานคนพิการตามมาตรา 35 มากขึ้น “อยากให้บริษัทเอกชนจ้างงานคนพิการตามมาตรา 35 มากขึ้นเพราะสามารถสร้างความยั่งยืนให้กับพวกผมได้ เห็นได้จากการที่ผมเข้าร่วมกับโครงการปลูกข่าเหลือง ชีวิตของผมก็เปลี่ยนไปมาก ผมมีความรู้ทางการเกษตรมากขึ้น ทำงานใกล้บ้าน ได้รู้จักเพื่อนและเข้าใจการทำงานเป็นทีมมากขึ้น รู้จักเก็บหอมรอมริบรายได้ที่มาจากน้ำพักน้ำแรงของผม” คุณประเทืองกล่าว สมมติว่าวันหนึ่งเราตื่นขึ้นมาแล้วพบว่าตัวเองกลายเป็นคนพิการ แน่นอนว่าเราคงรู้สึกแย่ไม่น้อย เช่นเดียวกับ “คุณสวง แทนกลาง” ความพิการทำให้เขาคิดฆ่าตัวตาย “จากเหตุการณ์ที่ถูกเครื่องดักสัตว์ยิงเข้าที่ขาทำให้ผมต้องตัดขาและกลับไปอยู่ที่บ้าน ตอนนั้นคิดน้อยใจ มีคำพูดประชดจากคนใกล้ตัว จนอยากฆ่าตัวตาย แล้วทางจังหวัดก็มาเรียกให้ไปฝึกอาชีพที่จังหวัดขอนแก่นเป็นช่างตัดผม แต่ในยุคนั้นยังไม่มีขาเทียมมันก็ลำบาก ทุกวันนี้ตั้งแต่มีขาเทียมจากมูลนิธิสมเด็จย่าและได้เข้ากลุ่มข่าเหลืองชีวิตผมดีก็ขึ้น ภูมิใจในตัวเองมากขึ้นเพราะผมมีความรู้จนสามารถปลูกต้นไม้ เช่น มะนาว สะเดา มะขามเทศ ให้ภรรยานำไปขายตามตลาดนัดได้ นอกจากนี้ก็ผูกไม้กวาดขายได้ ใครที่ล้อเลียนผม ตอนนี้ผมก็ไม่รู้สึกน้อยใจแล้วครับ” คุณสวงกล่าวและย้ำว่าการจ้างงานคนพิการตามมาตรา 35 ตอบโจทย์และสร้างประโยชน์ให้กับเขามากจริงๆ การเรียนรู้วิถีชีวิตของคนพิการที่นี่เพียงแค่ 1 วัน ทำให้เรารู้ว่าการเกษตรกับคนพิการไม่ได้ยากอย่างที่คิด และพวกเขาต่างมีศักยภาพและคุณค่าในตนเอง หวังว่าเรื่องราวเหล่านี้จะกลายเป็นส่วนหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนในสังคมมีต่อคนพิการ และเกิดการจ้างงานหรือสร้างอาชีพให้คนพิการมีงานมากยิ่งขึ้น เพราะถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้องค์กรต่างๆ สามารถเข้ามามีส่วนร่วมช่วยลดความเหลื่อมล้ำให้คนพิการและร่วมรับผิดชอบต่อสังคม การมีสถานภาพทางสังคมทำให้พวกเขากลับมามีตัวตนทั้งในครอบครัวและสังคมอย่างแท้จริง คุณสามารถร่วมเปิดประตูแห่งโอกาสสำหรับผู้พิการได้ ติดตามข้อมูลได้จากมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม www.sif.or.th และ www.facebook.com/socialinnovationfoundation หรือเฟซบุ๊ค คนพิการต้องมีงานทำ www.facebook.com/konpikanthai/

นาวาอากาศเอก ภราดร คุ้มทรัพย์

ผู้ดูแลโครงการส่งเสริมอาชีพคนพิการ งานเกษตรเทคโนโลยีใหม่ จ.ชัยนาท

(งานสนับสนุนการประกอบอาชีพ)

ผู้ดูแลโครงการส่งเสริมอาชีพคนพิการ งานเกษตรเทคโนโลยีใหม่ จ.ชัยนาท (งานสนับสนุนการประกอบอาชีพ) “ ผมเป็นทหารอากาศ ขับเครื่องบิน F16 ประจำการอยู่กองบิน 103 จ.นครราชสีมา นั่นคือความภูมิใจที่สุดของผม เวลาอยู่บนฟ้าเราสามารถทำได้ทุกอย่าง มันเป็นความรู้สึกที่ดี เมื่อ 20 กว่าปีก่อน ระหว่างที่ขับรถไปกองบิน103 มีเด็กนักเรียนวิ่งตัดหน้า ทำให้รถเสียหลักไปชนกับต้นไม้ กระดูกสันหลังข้อ C5 C6 แตก กดทับเส้นประสาท ทำให้ร่างกายตั้งแต่คอลงไปไม่สามารถควบคุมได้ ตอนนั้นท้อมากไม่รู้จะใช้ชีวิตต่อยังไง จนกระทั้งวันที่ดีที่สุด คือวันที่ได้กลับไปใส่ชุดยูนิฟอร์ม ท.อ. อีกครั้ง พอได้ทำงาน ทำให้คิดว่าชีวิตเรามีค่า เลยนึกถึงคนพิการคนอื่นๆ เขาก็น่าจะคิดเหมือนเรา ผมทำโครงการนี้ขึ้นเพราะอยากช่วยคนพิการรุนแรง แม้จะขยับไม่ได้ แต่ทำงานได้เพราะมีเทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาช่วย เรารวมกลุ่มคนพิการได้ 10 คน มีคนพิการหลายประเภท เมื่อได้รับเงินสนับสนุนเข้ากองกลางกลุ่ม เราก็จัดสรรมาทำไร่สวนแบบผสมผสาน มีทั้งปลูกเมล่อน โรงเพาะเห็ด บ่อเลี้ยงปลา โดยมีคนพิการจัดการดูแลทั้งหมดทุกขั้นตอน ความสุขของผมในตอนนี้คือการได้ทำงานแล้วกลับบ้านไปนั่งกินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตากับครอบครัวถ้าสังคมให้โอกาสที่ดีที่เหมาะสม มันช่วยส่งเสริมให้คนพิการมีโอกาสยืนได้ด้วยตัวเอง ที่สำคัญคือสร้างคุณค่า ไม่ใช่มูลค่านะ บริษัทอาจจะทำงานมีมูลค่าเงินทอง มหาศาลและพร้อมจะส่งเงินเข้ากองทุน แต่ถ้าเขาทำตรงนี้เขาจะได้คุณค่ามากมายโดยที่เขาไม่รู้ เมื่อเขาทำเขาถึงจะเห็น...”

คุณสังข์ทอง สาระสินธุ์

ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ประจำ รพ.สมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์

(งานสนับสนุนหน่วยงานประจำ)

คนเรา...ต่อให้ร่างกายพิการ แต่ความฝันยังคงแข็งแรงได้เสมอ คงจริงที่ว่า คนเราเลือกเกิดไม่ได้ แต่เราเลือกที่จะเป็นได้ คุณสังข์ทอง มีร่างกายพิการแต่เลือกที่จะดำเนินชีวิตอย่างคนทั่วไป ด้วยหัวใจเข้มแข็ง “ผมเห็นคนอื่นเขาเป็นมากกว่าเรา เขายังทำได้” นี่อาจเป็นประโยคสวยๆ ที่ได้ยินกันบ่อย แต่ความจริงน้อยคนนักที่ทำได้ หนึ่งในนั้นคือคุณสังข์ทอง ถึงแม้จะเกิดมาพิการ ก็ไม่คิดที่จะอยู่บ้านเฉยๆ เขาสนใจอิเล็กทรอนิกส์ และฝันว่าอยากประกอบอาชีพนี้ คุณสังข์ทองเริ่มต้นความฝันด้วยการเข้าเรียนที่ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการจังหวัดขอนแก่น หลังจากเรียนจบเขาพบว่าตัวเองยังไม่เก่งพอที่จะซ่อมเครื่องไฟฟ้าได้จริง เขาท้อแต่ไม่ถอย สอบเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนแสงทองเทคโนโลยี ซึ่งมีเครื่องไม้เครื่องมือพร้อมกว่า ครั้งนี้เขาจบมาด้วยคะแนนเป็นที่ 3 ได้ทำงานที่ชอบสมใจ แต่ชีวิตมันไม่ได้ง่ายอย่างนั้น หลังจากทำงานร้านซ่อมอิเล็กทรอนิกส์ที่บุรีรัมย์อยู่ 7 ปี เขาก็ต้องพบกับบททดสอบอีกครั้ง เขาถูกไฟช็อตจนตัวกระเด็น ขาทั้งสองข้างและหลังหัก ต้องรักษาอยู่ 2 ปี นี่เป็นบททดสอบที่แม้แต่คนปกติยังยากที่จะลุกขึ้นยืนไหว แต่คุณสังข์ทองไม่ใช่แค่ลุกขึ้นได้ เขายังกล้าที่จะก้าวต่อ ปัจจุบัน ทุกเช้าคุณสังข์ทองจะขับรถ ATV ของตัวเองเป็นระยะทาง 15 กิโล ไปทำงาน รับผิดชอบงานในแผนกซ่อมบำรุงของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ เขาฝันว่าจะทำงานที่นี่ให้นาน มีเงินเก็บ และไม่ต้องเป็นภาระกับใคร นี่อาจเป็นความฝันพื้นๆ แต่เชื่อไหม คนปกติบางคนยังทำได้ไม่ถึงครึ่งของคุณสังข์ทอง

คุณพ่อจุฬา ศรีกำพล

กลุ่มภูไทไม้งาม โครงการส่งเสริมอาชีพคนพิการ

(งานสนับสนุนการประกอบอาชีพ)

คนดีๆ หลายคนคิดแค่สร้างอาชีพให้ตัวเอง แต่คนพิการบางคน กลับคิดสร้างอนาคตให้คนอื่น ก่อนที่คุณพ่อจุฬาจะมีอายุ 25 ปี คุณพ่อเป็นคนปกติทั่วไป มีเมีย มีลูก และหาเลี้ยงครอบครัวด้วยการรับจ้างสารพัด ทำไร่ ไถนา เหมือนกับคนไทยอีกเป็นล้านคน แต่หลังจากประสบอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์ชน และต้องรักษาตัวอยู่นานถึง 2 ปี คุณพ่อจุฬาก็กลายเป็นคนพิการ สิ่งที่พ่อจุฬาได้รับไม่ใช่เพราะว่าแขนลีบเล็กอ่อนแรงไปหนึ่งข้าง แต่คุณพ่อได้หัวใจที่เข้มแข็งเพิ่มขึ้นมาต่างหาก หัวใจที่ทำให้คุณพ่อเริ่มฝึกงานช่างไม้ด้วยตัวเอง ทั้งที่ไม่เคยมีความรู้ด้านนี้มาก่อน งานที่แม้แต่คนที่มี 2 มือบางคน ยังอาจจะรู้สึกว่ายาก แต่คุณพ่อมุ่งมั่นทำจนได้ โดยไม่เคยไปเรียนที่ไหน หรือมีใครมาสอน ฟังแล้วอาจคิดว่าเป็นมุกตลก แต่คุณพ่อยืนยันว่าเรื่องจริง คุณพ่ออาศัยดูเฟอร์นิเจอร์จากในทีวี แล้วมาแกะแบบทดลองทำเอง ด้วยกบไสไม้ที่ซื้อต่อเขามา คุณพ่อเริ่มจากการทำแคร่ขาย เงินที่ได้ค่อยๆ ซื้อเครื่องมือเพิ่ม หัดทำเฟอร์นิเจอร์ที่ยากขึ้น ซับซ้อนขึ้น แต่ไม่เคยมีชิ้นไหนที่ยากเกิน วันนี้ คุณพ่อจุฬาทำเฟอร์นิเจอร์จากไม้ได้แทบทุกอย่าง แต่ก็ยังไม่หยุด ยังคงไปดูงาน ตามร้านเฟอร์นิเจอร์มีชื่อ เพื่อสั่งสมองค์ความรู้ด้านช่างให้มากที่สุด จุดมุ่งหมายหลักไม่ใช่หาเลี้ยงชีพตัวเอง แต่เพื่อบ่มเพาะโอกาสในชีวิตให้กับคนพิการคนอื่นๆ นี่คงเป็นสิ่งปกติสิ่งเดียวที่น่านับถือในตัวพ่อจุฬา

วินัย คงประเสริฐ

ผู้ช่วยพัฒนาชุมชน สังกัดโรงเรียนประจำตำบล จ.สุพรรณบุรี

(งานสนับสนุนหน่วยงานประจำ)

“ความฝันตอนเด็กๆ ผมอยากเป็นครู ผมสนใจพวกวิชาพุทธศาสนากับประวัติศาสตร์ ทำไมไม่รู้แต่สนใจมาตั้งแต่เด็ก ผมอาจจะไม่เก่งหนังสือ แต่ความจำดี(ยิ้ม) เวลาเดินทางไปเที่ยวก็จะกลับมาจด ผมจดได้เป็นเล่มๆเลยนะ เอาไว้เล่าให้คนอื่นฟัง วันหนึ่งรู้ว่าบริษัทมิตรผลเขาเปิดรับสมัครพนักงานก็ไปสมัครกับเขา ไม่คิดเหมือนกันว่าเขาจะรับเพราะมีคนพิการสมัครเยอะ ต้องคัดคน แต่เขาก็โทรกลับมาบอกว่า ยินดีด้วยนะได้งานแล้ว… หน้าที่ของผมคือดูแลโรงเรียนบ้านแจงงาม เก็บกวาด ทำความสะอาด ดูแลแปลงผักปลอดสารพิษ ผมดีใจที่เด็กๆได้กินผักที่ผมปลูกเอง ตอนนี้ไม่พอขายหรอกครับ เพราะแค่นักเรียนกินก็หมดแล้ว บ้านกับโรงเรียนใกล้กัน ปั่นรถไปสองนาทีก็ถึง ในเวลาที่คุณครูต้องเข้าประชุมทั้งโรงเรียน ครูเขาก็ฝากให้ผมดูแลเด็กๆ ผมก็จะสอนเขาเรื่องประวัติศาสตร์ พุทธศาสนา ผมชอบเข้าโรงเรียนแต่เช้า เพราะเด็กๆชอบเข้ามาถาม “ลุงวินัย!! วันนี้จะสอนอะไรพวกหนู” ผมเลยไปหาอ่านตำราอ่านเพิ่มจะได้มีเรื่องมาเล่าให้เด็กๆฟังทุกวัน

โครงการส่งเสริมอาชีพคนพิการ กลุ่มคนพิการเลี้ยงแพะ

จ.ระยอง

(งานสนับสนุนการประกอบอาชีพ)

ความสำเร็จของที่อื่น อาจวัดด้วยการเติบโตทางรายได้ แต่ความสำเร็จของที่นี่ วัดด้วยการเติบโตไปด้วยกัน พี่สาคร หนึ่งในผู้บุกเบิกศูนย์เรียนรู้ พูดไว้ว่า “คนพิการน่ะ ถ้าไม่มีพ่อแม่เหลืออยู่แล้ว ก็ไม่มีใครเขาเอาหรอก” นี่คือความจริงอันน่าเจ็บปวดที่บอกกับเราว่า ต่อให้เดินไม่ได้ มีอวัยวะไม่ครบ แต่สิ่งที่คนพิการต้องทำให้ได้คือ ยืนด้วยลำแข้งตัวเอง และคงเป็นแรงขับดันที่ทำให้พีสาครและพวกทุ่มเทมากกว่าคนปกติหลายเท่า กลุ่มของพี่เขาลองทำมาแทบทุกอย่าง ทำสบู่แกะสลัก ทำดอกไม้จากเกล็ดปลา เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงหมู หลายอย่างล้วนล้มเหลว แต่ไม่มีสักอย่างทำให้พวกเขาล้มเลิก วันนี้ จากพื้นที่รกร้าง มีเพียงปลักควาย กลายเป็นศูนย์เรียนรู้เลี้ยงแพะเพื่อคนพิการและครอบครัวแห่งแรกของประเทศ มีโรงเรือนเป็นเรื่องเป็นราว มีห้องประชุม จัดเวิร์คช็อปเป็นประจำ และเป็นที่ฝึกอาชีพให้กับคนพิการถึง 60 ครอบครัว ได้ด้วยคนพิการล้วนๆ เริ่มต้นจากไม่มีทุน ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากใคร หากวัดตามความรู้สึกของคนทั่วไป นี่น่าจะเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จ แต่พี่สาครกลับบอกว่า ยัง! ในจังหวัดยังมีคนพิการอีกมากมาย ทั้งประเทศยังมีคนพิการอีกหลายครอบครัว ที่ยังยืนไม่ได้ จะเรียกว่าสำเร็จทุกคนต้องเดินไปได้ด้วยกัน พี่สาครฝันไว้ว่า สักวันที่นี่ จะมีโรงงานแปรรูปเนื้อแพะของตัวเอง สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า นั่นคงเป็นอีกหนึ่งวันที่ศูนย์เรียนรู้ เข้าใกล้ความสำเร็จอีกขึ้น ตามทัศนะของพี่สาคร

ใหญ่ ปวันรัตน์ คำปัน

งานรณรงค์เมาไม่ขับ โครงการส่งเสริมอาชีพคนพิการ

(งานบริการสังคม)

ไม่ว่าจะเสียแขน เสียขา ชีวิตก็หยุดไม่ได้ ตราบใดที่มีลมหายใจ ชีวิตต้องเดินต่อ จากที่เคยทำงานมีอนาคตอยู่ในสำนักงานเทศบาลเมืองมุกดาหารอยู่ 9 ปี วันหนึ่ง ทุกอย่างเกือบจบลงแค่นั้น คุณใหญ่ตกเป็นเหยื่ออุบัติเหตุเมาแล้วขับ คุณใหญ่เจ็บหนัก เดินไม่ได้ ต้องต่อท่อปัสสาวะติดกับตัว คำพูดจากหมอดูเหมือนตลก แต่ฟังแล้วเศร้าจับใจ หมอบอกว่า ถุงปัสสาวะเนี่ย คงต้องอยู่ด้วยกันไปจนตาย แต่คุณใหญ่ไม่เคยเชื่อ ตรงกันข้าม เธอเชื่อว่าตัวเองจะต้องหาย และสายปัสสาวะจะต้องหลีกทางให้กับชีวิตของเธอเพียง 4 ปีเท่านั้น เธอทำได้อย่างที่เชื่อ นี่ไม่ใช่ปาฏิหาริย์ เพราะถ้าเป็นปาฏิหาริย์ เธอคงไม่ต้องเหนื่อยยาก แต่นี่เธอกัดฟันน้ำตาเล็ด เพื่อที่จะทวงชีวิตกลับมา ทุกวันนี้ เธอเดินไม่ได้ แต่ไปไหนต่อไหนได้ไกลกว่าคนขาดี เวลา 24 ชั่วโมงต่อวัน ของคนที่ต้องใช้วีลแชร์อย่างเธอ กลับทำอะไรได้มากมาย กว่าคนที่เดินเหินได้ปกติ วันหนึ่งๆ เธอช่วยแม่เตรียมของไปขายที่วิทยาลัยประจำจังหวัด ไปรณรงค์เมาไม่ขับกับตำรวจ เป็นวิทยากรให้กับนักเรียน ไปพูดคุยเป็นกำลังใจรวมถึงแนะนำสิทธิพื้นฐานให้กับคนพิการที่โรงพยาบาล รวมถึงวางแผนที่จะสร้างเครือข่ายคนพิการที่แข็งแกร่งให้กับจังหวัดด้วย คงต้องยอมรับว่า เธอทำอะไรได้เยอะกว่าคนที่เดินเหินได้ตามอำเภอใจ นั่นคงเป็นเพราะเธอมีหัวใจที่บอกกับเธอว่า “ก้าวที่ยิ่งใหญ่ของคน ล้วนมาจากหัวใจ ไม่ใช่ขา”

โครงการจ้างเหมาบริการผู้ดูแลคนพิการทดแทนชั่วคราว

Respite Care

(งานบริการสังคม)

แม่ที่มีลูกพิการทางสติปัญญาส่วนใหญ่มีความเครียดสะสมที่เกิดจากการเลี้ยงลูก ต้องอยู่กับลูกตลอด 24 ชัวโมง เพราะลูกไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จนแม่หลายคนต้องพบจิตแพทย์ กลายเป็นปัญหาที่แก้ไม่จบ กลุ่มเรสไปท์แคร์ หรือกลุ่มชมรมผู้ปกครองเด็กพิการ เป็นกลุ่มที่เกิดจากความรักของแม่ที่มีต่อลูก เพียงคิดว่าจะทำอย่างไรให้ลูกของตนมีชีวิตที่ดีขึ้น รูปแบบการทำงานคือการรวมกลุ่มผู้ดูแลคนพิการ แล้วผลัดกันเลี้ยง ผลัดดู เพื่อให้แม่ๆได้มี "วันพักผ่อน" หลายคนอ่านมาถึงตรงนี้คงสงสัย แค่วันพักผ่อนจะสำคัญยังไง หากคิดภาพตามว่าเราต้องอยู่บ้านกับลูกที่มีอารมณ์แปรปรวนตลอดเวลา ขับถ่ายไม่เป็นเวลา แล้วอยู่อย่างนั้นเป็นหลายปี พอเห็นภาพเลยใช่ไหม การมีเวลาพักผ่อนเล็กๆของแม่จึงสำคัญ เพราะนั้นจะทำให้แม่ได้ผ่อนคลาย และได้มีเวลาให้ตัวเองได้ออกไปใช้ชีวิตตามใจ แม้เพียงระยะเวลาเล็กน้อย แต่เป็นการชาร์ตพลังที่ยิ่งใหญ่ ให้แม่ได้กลับมาทำหน้าที่ต่อไป... " เรามีลูกพิการซ้ำซ้อน รู้สึกว่าลูกเราไม่มีที่ยืนในสังคม เราเข้าใจความรู้สึกของเพื่อนๆที่มีลูกพิการเหมือนกัน เมื่อเราก้าวข้ามความพิการของลูกได้ สามารถหาที่ยืนให้ลูกได้แล้ว ก็หันกลับมาช่วยเพื่อนของเรา กลับมาช่วยสังคม " แสงเพลิน จารุสาร เลขานุการชมรมผู้ปกครองเด็กพิการภายใต้มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ

Independent Living

‘สถานภาพทางสังคม’ การสูญหายและได้คืน

(งานบริการสังคม)

สถานะความเป็นผู้ป่วยไม่ได้ช่วยส่งเสริมให้เกิดกำลังใจหรือส่งเสริมให้คนพิการเกิดความกระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรมที่มีคุณค่า น่าภูมิใจ แต่ในทางตรงข้ามจะแสดงถึงความเป็นผู้ที่ต้องการความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา มีนัยยะของความด้อยความสามารถแฝงอยู่เสมอ” บางประโยคที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ “ไอแอล การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ Independent Living of Persons with Disabilities” ซึ่งเรียบเรียงโดย กมลพรรณ พันพึ่ง สะท้อนให้เห็นข้อเท็จจริงประการหนึ่งของ “ความพิการ” ที่ไม่ใช่แค่เรื่องการสูญเสียสมรรถภาพทางร่างกายเฉพาะบุคคล แต่ยังเป็นเรื่องการให้ความหมายทางสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลถึงการริดรอนสถานภาพออกจากบุคคลที่ถูกตีตราว่า “คนพิการ” “หลังจากที่ผมพิการผมไม่อยากออกมาข้างนอกบ้าน เวลาออกมาแล้วเพื่อนบ้านเขามอง เหมือนกับเราเป็นตัวประหลาด มันทำให้ผมไม่อยากออกมานั่งแม้กระทั่งหน้าบ้าน มันทำให้เรารู้สึกว่าทำไมต้องมองเราแบบนั้น เราก็เป็นคนเหมือนกันเพียงแค่เราเดินไม่ได้เพราะประสบอุบัติเหตุ คนพิการก็เป็นคนนะ” อนันตชัย ศรีสุข ในวัย 47 ปีบอกเล่าถึงความรู้สึกการถูกลดทอนความเป็นมนุษย์ผ่านการจ้องมองของผู้คนร่วมสังคม จนทำให้เขาต้องกักตัวเองไว้แต่ภายในบริเวณบ้านนานถึง 18 ปี และพยายามฆ่าตัวตายถึง 3 ครั้ง ไม่แตกต่างจากประสบการณ์ของ นพดล ภู่บ้านใหม่ ชายหนุ่มวัย 31 ที่อุบัติเหตุจากการทำงานเมื่อ 13 ปีที่แล้วทำให้เขาต้องพิการและรู้สึกท้อแท้จนต้องหลั่งน้ำตา “ตอนพิการแรกๆ ผมก็อยู่แต่ในบ้าน นอนท้อแท้ชีวิต นอนร้องไห้ทุกคืนๆ ไม่กล้าออกไปข้างนอก พอแม่จะพาออกมาอาบน้ำผมไม่ค่อยอยากออก เพราะว่าพอคนในหมู่บ้านเดินผ่านก็จะมองแบบเหลียวหลังเลย เราก็รู้สึกเหมือนว่าเราเป็นตัวประหลาด เวลาไปหาหมอบางทีเราก็ไม่อยากจะไป” แต่ใช่ว่าคนเราจะโชคร้ายตลาดไป อนันตชัย ศรีสุข สะท้อนข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างการจ้างงานกับการได้คืนสถานภาพการเป็นหัวหน้าครอบครัวว่า “หลังจากได้รับการจ้างงานผมปลื้มใจมาก ขอบคุณบริษัท เมื่อก่อนผมไม่มีเงินผมต้องแบมือขอพี่น้องแต่ตอนนี้ผมไม่เคยขอเขาเลย ผมได้กลับมาเป็นหัวหน้าครอบครัวอีกครั้งหนึ่ง” สอดคล้องกับ นพดล ภู่บ้านใหม่ ที่ระบุว่า “หลังจากที่ได้รับการจ้างงานผมก็มีความภูมิใจ เพราะจากที่ผมเคยคิดว่าผมไร้ค่า หมดความหมาย ไม่รู้ว่าจะทำอะไร ยังไงแล้ว ไม่สามารถมีเงินมีค่าใช้จ่ายอุดหนุนให้แม่ เพราะแม่จะดูแลค่าใช้จ่ายให้กับผมและลูก แถมมีน้าที่พิการทางสมองอีกคนหนึ่ง พอมามีงานมีเงินเดือนผมก็ส่งให้แม่ แล้วก็ให้ลูก จากที่เคยเป็นภาระของแม่ ตอนนี้ก็อาจจะลดภาระของแม่ลงไปบ้างไม่มากก็น้อย ผมให้เงินแม่ทุกเดือน ให้เงินลูกสาวไปกินที่โรงเรียนทุกวัน เพื่อที่ว่าลูกสาวผมจะได้ไม่ต้องไปเอาจากแม่แล้ว” หลังจากที่กลุ่มคนพิการ 8 คนที่ได้รับการจ้างงานตามโครงการจ้างเหมาบริการการพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตอิสระคนพิการในชุมชน จากบริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการดำเนินงานเสริมพลังให้กับคนพิการตามแนวทางการดำรงชีวิตอิสระเพื่อเรียกคืนความมั่นใจในสถานภาพความเป็นมนุษย์ให้กับคนพิการแล้ว ในอีกมุมหนึ่งข้อมูลดังกล่าวยังสะท้อนให้เห็นว่าการจ้างงานคนพิการเป็นอะไรที่มากกว่าการจ่ายเงินให้กับปัจเจกบุคคลคนหนึ่ง เพราะอาชีพที่ได้มอบให้กับคนพิการนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการส่งคืนสถานภาพทางสังคมให้กับมนุษย์ซึ่งจะทำให้พวกเขาได้กลับมามีตัวตนทั้งในครอบครัวและสังคมอย่างแท้จริง ขณะเดียวกันสำหรับกลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับคนพิการ ข้อมูลจากการติดตามการดำเนินงานของกลุ่มคนพิการที่ได้รับการจ้างงานจากบริษัทเอกชนเป็นปีแรกก็คือ ‘เรา’ ทุกคนควร “เปิดโอกาสให้คนพิการล้มเหลวได้ ตัดสินใจเลือกที่จะ “เสี่ยง” ว่าจะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่สังคมอาจจะให้ความหมายว่าดีหรือไม่ดีก็ได้” เพราะนั่นถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานที่มองเห็นมนุษย์ในฐานะมนุษย์ที่มีสิทธิเลือกและมีสิทธิที่จะล้มเหลวเหมือนกันทุกๆคน … ปิดหู หลับตา แต่ขอให้เปิดใจ

กลุ่มหมอนวดตาบอด

(งานบริการสังคม)

แม้เราจะมองไม่เห็น แต่เรานวดได้ เราจับเส้นถูก เพราะมองไม่เห็นจึงต้องใช้ประสาทสัมผัสมากกว่าคนปกติ กว่าจะได้มานวดจริงๆใช้เวลาเรียนนาน ต้องสอบเอาใบประกอบวิชาชีพด้วย แต่ดีนะ เพราะเราได้ช่วยคนอื่นให้หายปวดเมื่อย “เราได้มีโอกาสเข้าสู่สังคมอีกแบบนึง ที่เราไม่เคยได้รู้จัก เราได้สัมผัสชีวิตของผู้คนที่หลากหลาย”แม้ดวงตาจะมองไม่เห็นแต่สองมือของกบได้นวดผ่อนคลายความปวดหล้าของผู้คนมาตลอด 20 ปี กบจบจากศูนย์ฝีกอาชีพตาบอดสามพราน และต่อยอดความรู้ของเธอกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในหลักสูตรนวด ความพยายามกว่า 500 ชั่วโมงที่เธอฝึกเรียนทำให้เธอได้รับใบประกอบโรคศิลป์สาขาการแพทย์แผนไทย ซึ่งปัจจุบันถูกเปลี่ยนชื่อเป็นใบประกอบวิชาชีพ 20 ปีที่ผ่านมา เธอมีรายได้จากการเฝ้ารอลูกค้ามาใช้บริการ รายได้ก็ไม่แน่นอน แต่ปีที่ผ่านมาเธอได้มีโอกาสในการส่งเสริมอาชีพภายใต้มาตรา 35 ที่มูลนิธินวัตกรรมทางสังคมช่วยเชื่อมประสานให้ ตอนนี้กบได้ถ่ายทอดความรู้สึกให้เราได้ฟังว่า “ ก่อนหน้านี้กบเป็นหมอนวด รายได้ก็ไม่แน่นอน แต่ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายออกไปมีแน่นอนทุกๆเดือน ทำให้ชีวิตรู้สึกว่าไม่มั่นคง แต่พอได้เข้ามาร่วมโครงการโดยการจ้างเหมาบริการของ บริษัท DKSH ซึ่งกบและเพื่อนๆเป็นรุ่นบุกเบิกด้วยนะ มันทำให้กบมีรายได้เพิ่ม รู้สึกถึงความมั่นคงขึ้น เพื่อนๆของกบก็ดีใจและชื่นชอบกับการได้รับโอกาสนี้ ความประทับใจจากลูกค้าที่เป็นพนักงานในบริษัทที่สะท้อนว่าดีจัง นวดสบาย เมื่อก่อนกลัวไม่กล้านวด แต่วันนี้ชอบมาก มันเป็นเสียงที่ทำให้กบและเพื่อนๆรู้สึกมีความสุข ของแถมอีกอันที่เธอเล่าด้วยความสุข เธอบอกว่า บริษัทมีใบเสนอข้อคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ(พนักงานบริษัท) หลายเสียงบอกว่า ปีหน้า ขอแบบนี้อีกนะ” มันทำให้เธอรู้สึกดีใจและมีความสุขมาก เหนือสิ่งอื่นใด กบเล่าว่า มันไม่ใช่แค่มีรายได้ การได้เข้ามาทำงานนวดในบริษัท มันเปิดโลกใหม่ๆของเรา การได้เดินเข้าไปในบริษัท ซึ่งถ้าไม่ใช่งานนี้เราคงไม่มีโอกาสได้เข้าไป เราได้มีโอกาสเข้าสู่สังคมอีกแบบนึงที่เราไม่เคยรู้จัก เราได้สัมผัสชีวิตของผู้คนที่หลากหลาย งานทำให้เธอไปสู่สังคมที่เปิดกว้าง

แม้มองไม่เห็น แต่พวกเราปลูกผักขายได้

มูลนิธิพิทักษ์ดวงตา จ.ลำปาง

(งานสนับสนุนการประกอบอาชีพ)

“จิตวิญญาณความเป็นครู ไม่เลือนหาย” แว่วเสียงจากปลายสาย หญิงสาววัยกลางคนทีมีน้ำเสียงใสน่าฟัง และรู้สึกถึงว่าเธอกำลังพูดเปื้อนยิ้ม เธอแนะนำตัวอีกครั้งว่า ชื่อ รุ่งนภา ชื่อเล่น ชื่อรุ่ง อายุ 26 ปี รุ่งเล่าว่าห้าปีก่อนเธอเป็นผู้หญิงที่มีชีวิตปกติเหมือนคนทั่วไปและอยู่ในรั้วของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อร่ำเรียนในสาขาครูปฐมวัย อาชีพที่เธอฝันว่าจบมาเธอจะเป็นหนึ่งกำลังสนับสนุนให้การศึกษาของเด็กปฐมวัยในชุมชนของเธอมีคุณภาพได้ หากแต่เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เธอประสบอุบัติเหตุทำให้สูญเสียการมองเห็น(ตาบอด) นั่นแปลว่าวิถีปกติและสิ่งที่เธอกำลังจะเดินก้าวไปต่อ เป็นอันต้องชะงัก โลกไม่เคยใจร้าย กับจิตใจที่ไม่เคยท้อถอย ทำให้เธอลุกขึ้นสู่ด้วยการไปฝึกอาชีพกับมูลนิธิพิทักษ์ดวงตา หลักสูตรเรียนรู้อักษรเบลล์ ใช้คอมพิวเตอร์ในระบบเสียงหรือตาทิพย์ แม้เธอจะเคยมีทุนเดิมจากการได้เรียนในรั้วมหาวิทยาลัยในเรื่องการเรียนการสอน แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะสิ่งที่เธอเรียนในห้องเรียนมันต่างจากสิ่งที่เธอกำลังเผชิญอย่างสิ้นเชิง อุปสรรคยอมแพ้ต่อความมานะพยายามของเธอ ที่จะยอมรับต่อสิ่งที่เกิดขึ้นและเรียนรู้กับวิชาใหม่ๆที่จะทำให้เธอได้ยังคงความฝันได้ เธอยังสามารถสานต่อความฝันในการเป็นครูได้อย่างที่เธอต้องการ แน่นอนว่าเส้นทางของความฝันของเธอในการสร้างคนไม่เคยถูกละทิ้งและมีคุณค่าที่จะทำให้ใครๆก็เข้าใจและพร้อมจะเป็นกำลังใจให้กับเธอ ครูปุ๋ย ครูและแม่ใหญ่แห่งมูลนิธิพิทักษ์ดวงตา ไม่ละเลยหรือมองข้ามความฝันหรือความพยายามของเธอ จึงบอกเล่าให้มูลนิธินวัตกรรมทางสังคมได้รับทราบเรื่องราวของเธอ แน่นอนว่า เมื่อมูลนิธิฯได้รับรู้ เราจึงเชื่อมประสานให้เกิดการจ้างงานจากบริษัทไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ซึ่งนั้นเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้ชีวิตเธอเปลี่ยนไป เธอรู้สึกว่าเธอมีความั่นคงในชีวิต มีความสุขกับสิ่งที่ได้ทำ ท้ายสุดเธอฝากให้เรามาบอกว่า “ขอบคุณสำหรับโอกาสที่มีให้เธอ ขอบคุณไมเนอร์ ขอบคุณมูลนิธิ” (เสียงยิ้ม)

เด็กออทิสติก กับงานบริการชั้นเลิศ

มูลนิธิพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินท์ จ. เชียงใหม่

(งานสนับสนุนหน่วยงานประจำ)

บทสัมภาษณ์จาก คุณวรรณพร ถนอมธรรม อีกหนึ่งผู้ดูแลเด็กๆในสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินท์ จนเด็กๆเรียกว่า ป้าป๊อป ตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่ผันตัวเองมาเป็นอาสาช่วยเหลือเด็กพิเศษ สิ่งที่เกิดขึ้นที่เป็นรูปธรรมก็คือ การเปลี่ยนแปลงของน้องๆเด็กพิเศษที่มีพัฒนาการดีขึ้น และความสุขของพวกเค้าจากการที่สังคมให้การยอมรับ นอกจากนี้เศรษฐกิจของครอบครัวก็ดีขึ้นโดยเฉพาะน้องที่ได้รับการจ้างงาน ยกตัวอย่างเช่น น้องตาว ที่ได้รับการจ้างงานจากกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ที่เมื่อก่อนแม่ทำงานหาเลี้ยงครอบครัวอยู่คนเดียว พอน้องตาวได้ทำงาน มีเงินเดือน และดูแลตนเองได้ ก็ช่วยลดภาระครอบครัวลงได้ นอกจากนี้น้องตาวยังได้นำเงินเดือนที่ได้จากการทำงานมาช่วยเหลือครอบครัวอีกด้วย สิ่งที่น้องๆเด็กพิเศษเหล่านี้ทำ มันเกินฝันสำหรับพ่อแม่ค่ะ พอครอบครัวมีความสุขทางใจ ก็สามารถที่จะคิดทำอะไรต่อไปได้ โดยเฉพาะพ่อแม่ที่มีลูกเป็นเด็กพิเศษ เวลาลูกช่วยเหลือตัวเองได้ มีงานทำ ได้เงินเดือน ก็ค่อยหมดความกังวล ถ้าวันหนึ่งเค้าต้องจากไปก็หมดห่วง สิ่งที่เห็นตามมาอีกก็คือสังคมรอบข้างเริ่มรู้จักเด็กกลุ่มนี้มากขึ้น และเริ่มให้โอกาสพวกเขามากขึ้น นอกจากนี้ยังได้เห็นวิสัยทัศน์ของบริษัทเอกชนอื่นๆ ที่เราไม่คิดว่าเขาจะเห็นคุณค่าและให้โอกาสกับเด็กพิเศษกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นอะไรที่เรารู้สึกว่าเงินทองก็ชื้อไม่ได้จริงๆ สิ่งที่เป็นจุดแข็งของน้องๆ เด็กพิเศษเหล่านี้ก็คือ ความซื่อสัตย์ ไม่โกหก มีความอดทน มีความรับผิดชอบสูง บางครั้งถึงแม้งานจะยุ่งและเหนื่อยแค่ไหน พวกเขาไม่เคยบ่น และย่อท้อค่ะ นอกจากนี้เด็กๆพวกนี้ ไม่เคยโกงเวลา และไม่ได้อยากได้อะไรเยอะแยะ จึงทำให้เราที่อยู่ด้วยรู้สึกเย็นลง เด็กพิเศษ ถ้าเราให้พื้นที่เค้า เค้าก็ทำได้ และทำได้ดีด้วยค่ะ ดังนั้นจึงอยากจะฝากถึงบริษัทเอกชน หรือโรงแรมอื่นๆ ถ้าอยากจ้างงานเด็กพิเศษเหล่านี้ ทางสถาบันก็พร้อมที่จะฝึกเด็กพิเศษเหล่านี้ให้ไปทำงานในบริษัทหรือโรงแรมของท่าน โดยทางสถาบันฯ เป้าหมายที่จะพัฒนาเด็กพิเศษให้ไปทำงานข้างนอกได้ ซึ่งยังมีอีกหลากหลายอาชีพที่เด็กเหล่านี้สามารถทำได้ และเราก็พร้อมที่จะพัฒนาเขาหากมีความต้องการ ดังนั้นจึงอยากจะฝากว่า เพียงแค่ท่านให้โอกาส และเห็นคุณค่าของพวกเขา พวกเขาก็พร้อมที่จะออกไปทำงานให้ท่าน แต่อย่าจ้างงานพวกเขาเพราะความสงสาร เนื่องจากเขาเหล่านี้มีคุณค่า และความสามารถจริงๆ

นักกีฬายิงธนูคนพิการไทย บนสนามประลองชัยแห่งชีวิต

เมธาสินธุ์ ชัยลิ้นฟ้า

(งานสนับสนุนหน่วยงานประจำ)

“ผมจะทำให้ดีที่สุด เพราะมันเป็นงานของผม” อุบัติเหตุเพียงครั้งอาจจบความหวังของใครไปทั้งชีวิต แต่สำหรับ เมธาสินธุ์ ชัยลิ้นฟ้า 3 ครั้งกับประสบการณ์อุบัติเหตุบนท้องถนนซึ่งส่งผลให้เขาต้องพิการทางด้านการเคลื่อนไหวซ้ำแล้วซ้ำเล่า กลับทำให้เขาเลือกที่จะแสวงหาหนทางใหม่ๆ เพื่อสู้ต่อไปบนสนามประลองชัยแห่งชีวิตที่ไม่มีวันสิ้นสุด 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ก่อนการเดินทางไปสู้ศึกพาราลิมปิกเกมส์ 2016 ที่เมืองริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล ระหว่างวันที่ 7-18 กันยายน ในฐานะนักกีฬายิงธนูทีมชาติไทย เราได้มีโอกาสนัดหมายกับ เมธาสินธุ์ ณ การกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อพูดคุยถึงเส้นทางชีวิตหลังความพิการ การต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งอาชีพ และโอกาสจากการเป็นตัวแทนของคนไทยไปแข่งขันชิงชัยในเวทีระดับโลก “ผมพิการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2535 ตอนนั้นอายุ 18 ปี กำลังเรียนที่วิทยาลัยเกษตรน่าน ปวช. ปีสุดท้ายอีกประมาณ 3 เดือนจะจบ เป็นวัยรุ่นที่ค่อนข้างเกเรหน่อย กินเหล้าสังสรรกับเพื่อน แล้วขับมอเตอร์ไซค์จะออกไปซื้อเหล้า พยายามจะขับแซงรถพ่วงสิบล้อ พอถึงทางโค้งผมเร่งเครื่องแซง มีรถสวนเข้ามาเขาตบไฟสูงใส่ ผมก็หักหลบตัดหน้ารถสิบล้อลงข้างทาง รู้สึกตัวอีกทีก็อยู่โรงพยาบาล ขาหัก หมอนรองกระดูกมีปัญหา ทำกายภาพต่อมาเรื่อยๆ แต่ก็ไม่ดีขึ้น ใช้เวลาฟื้นฟูทั้งร่างกายและจิตใจ 3 ปี ผมฆ่าตัวตาย 3 ครั้งหลังจากที่รู้ตัวเองว่าผมพิการถาวร อย่างแรกที่เป็นสาเหตุให้ฆ่าตัวตายคือเรายอมรับในสิ่งที่เราเป็นไม่ได้ แต่เดิมเราสามารถทำอะไรเองได้ทุกอย่าง อยู่ๆมาวันหนึ่งทำอะไรเองไม่ได้ เพื่อนฝูงที่เคยคบกันมาก็เปลี่ยนไป สังคมที่เราเคยอยู่ประจำมันเปลี่ยน เลยเป็นเหตุที่ทำให้น้อยเนื้อต่ำใจ สาเหตุที่ทำให้เราตัดสินใจลุกขึ้นสู้อีกครั้ง มีอยู่สองกรณี ตอนนั้นผมรู้สึกว่าผมเป็นภาระให้แก่ครอบครัว ผมพยายามที่จะเปลี่ยนความคิดตัวเอง พยายามที่จะออกสู่โลกภายนอก ออกไปอยู่ตามสถานฝึกอาชีพคนพิการ อีกอันหนึ่งที่จุดประกาย วันหนึ่งผมดูรายการทีวีทไวไลท์โชว์ ของคุณไตรภพ ลิมปพัทธ์ เขาเอาคนพิการที่อยู่ปากเกร็ด นนทบุรี มาออกรายการ คนพิการคนนั้นเขาพิการแต่กำเนิด เขาใช้ได้แต่หัวกับปาก ร่างกายส่วนอื่นเขาใช้ไม่ได้ แต่เขาใช้ปากวาดรูปในหลวงโชว์ในรายการแล้วเหมือนด้วย ผมก็เลยเปลี่ยนความคิดผมเลย เพราะผมยังมีอะไรที่มากกว่าน้องเขาและผมก็มีสมองที่มันไม่ได้พิการไปกับตัวผม พอผมประสบอุบัติเหตุครั้งที่ 2 ท้อแท้เมากครับพราะผมเป็นเสาหลักที่ดูแลครอบครัว ตอนนั้นลูกคนโตผู้ชายอายุ 17-18 ปี ลูกสาวคนเล็ก 7-8 ขวบ ห่วงเพราะว่าลูกผมยังเล็ก ภาระทั้งหมดต้องตกเป็นของเมีย แล้วตัวผมก็จะเป็นภาระของเมียไปอีกนานเลย เพราะ 1 ปีที่ผมต้องอยู่บ้านเฉยๆ ช่วงนั้นผมต้องใช้เงินเข้าออกโรงพยาบาลบ่อย ขาข้างที่ประสบอุบัติเหตุต้องมาตัดออกอีกครั้ง ทำให้ใช้ชีวิตลำบากจะนั่งจะเข้าห้องน้ำจะทำอะไร มันไม่เหมือนเดิม จนกระทั่งประมาณปลายปี 2558 ผมทำงานกับมูลนิธิเมาไม่ขับโดยได้รับเงินเดือนจาก ธนาคารไทยพาณิชย์ จากการประสานของมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม แล้วก็มีคนพิการอีก 4 คนในกลุ่มของผมที่ได้รับการสนับสนุนอาชีพอิสระจากมาตรา 35 ทั้งหมดเลี้ยงหมู 50 ตัว เลี้ยงแบบรวมกัน เพื่อง่ายต่อการควบคุมดูแล เพราะผมก็คอยดูแลเขาให้ใช้เงินให้ถูกต้อง ล่าสุดขายหมู ก็ต้องดูว่าคนมาซื้อราคาเท่าไหร่ กำไรเท่าไหร่ คุณต้องหักว่าทุนอะไรเท่าไหร่ ค่าหมู ค่าอาหาร ยารักษาโรค ค่าน้ำค่าไฟต้องหักไว้เป็นทุน ส่วนกำไรจะเอาไปใช้ก็แล้วแต่ ทุกคนต้องทำตามกฎที่ตั้งไว้เพื่อไม่ให้ใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ เสร็จแล้วเราก็จะคอยรายงานเข้ามาให้มูลนิธินวัตกรรมทางสังคมได้รับทราบ” การยิ่งธนูก็เป็นอีกบทบาที่ผมภาคภูมิใจ เช้ามาทำภารกิจของตัวเองเสร็จเรียบร้อย ประมาณ 9 โมงลงมาซ้อมถึงเที่ยง แล้วก็บ่ายสองโมงกลับมาซ้อมอีกรอบถึงเย็น ส่วนวันจันทร์ พุธ ศุกร์ จะต้องเข้าโปรแกรมเวทเทรนนิ่ง อย่างซ้อมช่วงเช้าจะเป็นการเช็คฟอร์มตัวเอง บ่ายจะเริ่มเน้นเรื่องความแม่นยำ ให้มันเข้าเหลืองทั้งหมด ซ้อมอย่างนี้ทุกวัน เพราะกีฬายิงธนูเป็นการสร้างให้ร่างกายของเราจำท่วงท่าจนเกิดความเคยชิน ถ้าเราทำท่าไม่เหมือนเดิม มันก็จะไม่เข้าที่เดิม แต่ถ้ามันเหมือนเดิมทุกวันทุกครั้งมันก็จะเข้าที่เดิม แล้วมันก็เป็นการฝึกสมาธิด้วย ถ้าฟุ้งซ่านหรือมีอะไรเข้ามากวนใจเราจะยิงไม่ได้ ส่วนใหญ่แล้วนักกีฬาเมื่อเข้าไปอยู่ในเส้นมันจะต้องจัดการตัวเอง เสียงที่มันอยู่ข้างนอกเส้นอย่าให้มันเป็นปัญหา ถ้าเขาคุยกันอยู่ข้างนอกแล้วเราได้ยินขณะที่กำลังเล็งอยู่ก็จบข่าว นักกีฬาทุกคนหวังที่จะได้เหรียญทั้งนั้น ผมว่าผมจะทำให้ดีที่สุด เพราะมันเป็นงานของผม มันคืองาน คือหน้าที่ ผมต้องทำให้ดี” ใครบางคนอาจวัดผลสำเร็จของการแข่งขันด้วยรางวัลที่สัมผัสได้ในปลายทาง แต่สำหรับใครบางคนจุดเริ่มต้นของการตัดสินใจก็เพียงพอแล้วที่จะเป็นคำตอบของชัยชนะ การสั่งสมความรู้ ฝึกฝนเพื่อรอวันค้นพบโอกาส และการไม่ยอมปล่อยให้ทุกโอกาสดีๆ ที่ผ่านเข้ามาหลุดลอยไปคือตัวอย่างการใช้ชีวิตของ เมธาสินธุ์ ชัยลิ้นฟ้า ชายผู้ประกาศว่าทุกบทบาทที่เขาทำ “มันคืองาน คือหน้าที่ ผมต้องทำให้ดี” แค่นี้ก็เพียงพอสำหรับเหรียญรางวัลในสนามประลองแห่งชีวิต

เมื่อ “ภูเขา” ถูกแปลงโฉม จาก “ข่าเหลือง”สู่ “เกษตร 4.0” อาชีพที่ออกแบบโดย “คนพิการ”

“โครงการเกษตรสีเขียวผักปลอดภัย” ณ View Share Farm คือพื้นที่ที่คนพิการกลุ่มหนึ่งกำลังบ่มเพาะและเติมเต็มความฝัน และต้องการแสดงศักยภาพเพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนในสังคม เกิดการจ้างงานตามมาตรา 35 ให้คนพิการมีงานทำมากยิ่งขึ้น เมื่อผลักประตูและเดินลงจากรถพร้อมกับคณะทำงานของมูลนิธินวัตกรรมทางสังคมองค์กรที่ผลักดันการจ้างงาน สร้างอาชีพคนพิการด้วยมาตรา 33 หรือ 35 โดยให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้า จ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน ช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ นำโดย “คุณอภิชาติ การุณกรสกุล” ประธานมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม สิ่งที่ปะทะสายตาคือสีเขียวเย็นตาของต้นไม้และพืชผักนานาชนิดจากริมทางเดินบนภูเขาที่คดโค้ง เราเงยหน้ารับสายลมเย็นที่โชยผ่านต้นไม้ใบหญ้า ไกลออกไปคือเรือนเพาะชำที่รอทักทายเราอยู่ ที่นี่คือ “โครงการเกษตรสีเขียวผักปลอดภัย” ณ View Share Farm ตำบลวังหมี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา พูดให้เข้าใจง่าย คือพวกเราชวนกันไปเรียนรู้วิถีการทำเกษตรแบบ 4.0 ของคนพิการที่ได้รับการสนับสนุนจ้างงานตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญติส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจาก “บริษัท เฮชจีเอสที (ประเทศไทย) จำกัด” นั่นเอง ที่แห่งนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร เรามีโอกาสได้พูดคุยเพื่อหาคำตอบกับ “คุณพงษ์เทพ อริยเดช” ประธานชมรมเครือข่ายคนพิการ จังหวัดนครราชสีมา คุณพงษ์เทพ เริ่มเล่าให้ฟังถึงเหตุผลที่เปลี่ยนแนวคิดจากการปลูกข่าเหลืองสู่เกษตรแบบผสมผสานว่า ก่อนจะเป็นโครงการเกษตรสีเขียวผักปลอดภัย ณ View Share Farm เมื่อปี 2559 มีการรวมกลุ่มคนพิการที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาในรูปแบบสหกรณ์ จำนวน 18 คน ร่วมกันปลูกข่าเหลืองซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจ ปลูกง่ายและทำเงินได้ แต่ชีวิตไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเพราะข่าล้มตายเกือบหมด จึงเปลี่ยนมาทำเกษตรแบบผสมสานทั้ง พืชใบ พืชโรงเรือน และพืชสวน อาทิ เงาะ ลำใย กล้วย มะยงชิด เมล่อน ข่า ผักสลัด มะนาว มะเขือ ฯลฯ โดยใช้ระบบน้ำหยดพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาช่วย “ปลูกข่าไม่สำเร็จเราก็เลยคุยกับสมาชิกว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร จึงไปขอคำปรึกษาจากสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนก็ได้แนวคิดทำเกษตรแบบผสมผสานและใช้ระบบน้ำหยดโดยเริ่มต้นจากการสร้างโรงเรือนเพื่อปลูกเมล่อน” คุณพงษ์เทพ กล่าว คุณพงษ์เทพเล่าต่อว่าปัจจุบันสมาชิกที่เป็นคนพิการในกลุ่มจาก 18 คน เพิ่มขึ้นเป็น 70 คน ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ไม่หมดเท่านั้นพวกเขายังต่อยอดขยายงานคนพิการและบริการท้องถิ่นจากเกษตรกรรมธรรมดาๆ จนกลายเป็น “การเกษตรเชิงท่องเที่ยว” “บริษัทที่สนับสนุนการจ้างงานเห็นสิ่งที่เราทำจึงได้สนับสนุนและสร้างอาคารที่พักเพื่อเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมและพักผ่อนหย่อนใจ เป็นการสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง รวมทั้งให้ผู้ที่อยากมาเรียนรู้วิถีการทำเกษตรแบบคนพิการด้วย” คุณพงษ์เทพกล่าว คุณพงษ์เทพอธิบายเรื่องการจ้างงานคนพิการตามมาตรา 35 ว่า มีความจำเป็นกับคนพิการที่เข้าใจกฏหมาย นั่นหมายความว่าต้องทำให้คนพิการมีความรู้ความเข้าใจเพื่อให้มีความมั่นใจว่าจะสามารถทำงานได้ หรือมีโครงการที่น่าสนใจก่อนที่เข้าไปพูดคุยกับสถานประกอบการใกล้บ้าน “อย่าลืมว่าถ้าเลือกคนพิการทำงานจะไม่ได้งาน แต่ถ้าเลือกงานให้คนพิการ คนพิการก็จะได้ทำงานและจะได้คนพิการที่มีศักยาภาพ และต้องใกล้บ้านเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตและเป็นการสร้างความยั่งยืนได้” คุณพงษ์เทพกล่าว ไม่ใช่แค่อยากเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่สังคมมีต่อคนพิการ เขายังเชื่อว่ามีความเป็นไปได้มากมายที่เกิดขึ้นได้หากสังคมดูแลคนพิการได้ถูกวิธี “หน่วยงานที่ดูแลงานด้านคนพิการในพื้นที่ต้องเข้ามามีบทบาทและดูแลคนพิการให้ทั่วถึง ประเภทที่ว่าไฟไหม้ฟางมาช่วยเหลือแล้วหาย มีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง” คุณพงษ์เทพกล่าวทิ้งท้าย นี่จึงเป็นที่มาของโครงการเกษตรสีเขียวผักปลอดภัยที่ทำหน้าที่ในการสร้างอาชีพที่ยั่งยืน และดึงศักยภาพของคนพิการ ซึ่งถูกออกแบบด้วยหลักคิดการสร้างแลนด์มาร์ค นั่นคือต้องมีคาแรกเตอร์โดดเด่น เป็นที่สนใจ น่าจดจำ และสามารถดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาใช้งานได้จริงๆ ณ ลานดินใกล้กับโรงเรือนเพาะชำมะเขือ เราสังเกตุเห็นชายร่างเล็กกำลังสาละวนอยู่กับการผสมปุ๋ย เขาคือ “คุณประเทือง จวบกระโทก” ดูเผินๆ แทบไม่รู้เลยว่าเขาเป็นคนพิการ คุณประเทืองเล่าให้ฟังว่าเขาพิการมือตั้งแต่กำเนิด ทำให้การใช้ชีวิตค่อนข้างลำบากแต่ก็ไม่ได้ทำให้เขาท้อใจเท่ากับคำคน “ช่วงวัยรุ่นผมเคยท้อ เวลาไปไหนกับเพื่อนก็จะมีคนพูดว่าเราเป็นคนพิการ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ แต่ผมก็พยายามทำให้เขาเห็นว่าผมทำทุกอย่างได้เหมือนคนปกติ ทำงานก่อสร้างได้ ขับรถรับจ้างได้ ทำไร่ ทำสวนได้” คุณประเทืองกล่าว เขาเล่าให้ฟังถึงการตัดสินใจเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มข่าเหลืองตั้งแต่ปี 2559 ว่าต้องการพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่าคนพิการก็มีศักยภาพ สามารถทำงานหาเลี้ยงตนเองได้ และต้องการให้บริษัทเอกชนหันมาจ้างงานคนพิการตามมาตรา 35 มากขึ้น “อยากให้บริษัทเอกชนจ้างงานคนพิการตามมาตรา 35 มากขึ้นเพราะสามารถสร้างความยั่งยืนให้กับพวกผมได้ เห็นได้จากการที่ผมเข้าร่วมกับโครงการปลูกข่าเหลือง ชีวิตของผมก็เปลี่ยนไปมาก ผมมีความรู้ทางการเกษตรมากขึ้น ทำงานใกล้บ้าน ได้รู้จักเพื่อนและเข้าใจการทำงานเป็นทีมมากขึ้น รู้จักเก็บหอมรอมริบรายได้ที่มาจากน้ำพักน้ำแรงของผม” คุณประเทืองกล่าว สมมติว่าวันหนึ่งเราตื่นขึ้นมาแล้วพบว่าตัวเองกลายเป็นคนพิการ แน่นอนว่าเราคงรู้สึกแย่ไม่น้อย เช่นเดียวกับ “คุณสวง แทนกลาง” ความพิการทำให้เขาคิดฆ่าตัวตาย “จากเหตุการณ์ที่ถูกเครื่องดักสัตว์ยิงเข้าที่ขาทำให้ผมต้องตัดขาและกลับไปอยู่ที่บ้าน ตอนนั้นคิดน้อยใจ มีคำพูดประชดจากคนใกล้ตัว จนอยากฆ่าตัวตาย แล้วทางจังหวัดก็มาเรียกให้ไปฝึกอาชีพที่จังหวัดขอนแก่นเป็นช่างตัดผม แต่ในยุคนั้นยังไม่มีขาเทียมมันก็ลำบาก ทุกวันนี้ตั้งแต่มีขาเทียมจากมูลนิธิสมเด็จย่าและได้เข้ากลุ่มข่าเหลืองชีวิตผมดีก็ขึ้น ภูมิใจในตัวเองมากขึ้นเพราะผมมีความรู้จนสามารถปลูกต้นไม้ เช่น มะนาว สะเดา มะขามเทศ ให้ภรรยานำไปขายตามตลาดนัดได้ นอกจากนี้ก็ผูกไม้กวาดขายได้ ใครที่ล้อเลียนผม ตอนนี้ผมก็ไม่รู้สึกน้อยใจแล้วครับ” คุณสวงกล่าวและย้ำว่าการจ้างงานคนพิการตามมาตรา 35 ตอบโจทย์และสร้างประโยชน์ให้กับเขามากจริงๆ การเรียนรู้วิถีชีวิตของคนพิการที่นี่เพียงแค่ 1 วัน ทำให้เรารู้ว่าการเกษตรกับคนพิการไม่ได้ยากอย่างที่คิด และพวกเขาต่างมีศักยภาพและคุณค่าในตนเอง หวังว่าเรื่องราวเหล่านี้จะกลายเป็นส่วนหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนในสังคมมีต่อคนพิการ และเกิดการจ้างงานหรือสร้างอาชีพให้คนพิการมีงานมากยิ่งขึ้น เพราะถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้องค์กรต่างๆ สามารถเข้ามามีส่วนร่วมช่วยลดความเหลื่อมล้ำให้คนพิการและร่วมรับผิดชอบต่อสังคม การมีสถานภาพทางสังคมทำให้พวกเขากลับมามีตัวตนทั้งในครอบครัวและสังคมอย่างแท้จริง คุณสามารถร่วมเปิดประตูแห่งโอกาสสำหรับผู้พิการได้ ติดตามข้อมูลได้จากมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม www.sif.or.th และ www.facebook.com/socialinnovationfoundation หรือเฟซบุ๊ค คนพิการต้องมีงานทำ www.facebook.com/konpikanthai/

ข่าว

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 นางมนิษา อนันตผล ผู้จัดการศูนย์ประสานการจ้างงาน และทีมงาน พร้อมคณะจากกรมการแพทย์ทหารบก ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการประกอบอาชีพจังหวัดลพบุรี และกรุงเทพมหานคร ภายใต้การประสานจากกรมแพทย์ทหารบก ในวันดังกล่าว ได้มีการลงพื้นที่เพื่อติดตามความคืบหน้ากลุ่มงานที่ได้รับการสนับสนุนการประกอบอาชีพ จำนวน 7 โครงการ

แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม จัดเวทีปฐมนิเทศคนพิการที่ได้รับการจ้างงานเชิงสังคม ประจำปี 2561 นายอภิชาติ การุณกรสกุล ประธานมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า วันนี้เป็นวันแห่งการเริ่มต้นของการทำงานของคนพิการ มีคนพิการหลายคนเพิ่งเคยได้ทำงาน แผนงานฯในฐานะผู้เชื่อมประสานการจ้างงานในครั้งนี้ จึงคิดว่าการจัดงานวันนี้ถือเป็นความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อตอกย้ำให้คนพิการและหน่วยงานที่รับคนพิการเข้าทำงาน ได้เข้าใจถึงเป้าหมาย บทบาท ที่จะต้องดำเนินการต่อจากนี้ เพื่อส่งมอบภารกิจงานอันมีคุณค่าต่อสังคม

เมื่อวันที่ 27 กรกฏาคม 2560 นายชยุต จินตรัศมี กรรมการมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการให้ความรู้โครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตามกฏหมาย การจ้างงานคนพิการ ประจำปี 2560 จัดโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางและวิธีการในการดำเนินการจ้างงานเชิงสังคมและสนับสนุนการประกอบอาชีพ ให้แก่สถานประกอบการในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการจำนวนกว่า 230 คน ณ โรงแรมเบย์ จ.สมุทรปราการ

เมื่อวันที่ 27 กรกฏาคม 2560 นายชยุต จินตรัศมี กรรมการมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการให้ความรู้โครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตามกฏหมาย การจ้างงานคนพิการ ประจำปี 2560 จัดโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางและวิธีการในการดำเนินการจ้างงานเชิงสังคมและสนับสนุนการประกอบอาชีพ ให้แก่สถานประกอบการในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการจำนวนกว่า 230 คน ณ โรงแรมเบย์ จ.สมุทรปราการ

เมื่อวันที่ 27 กรกฏาคม 2560 นายชยุต จินตรัศมี กรรมการมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการให้ความรู้โครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตามกฏหมาย การจ้างงานคนพิการ ประจำปี 2560 จัดโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางและวิธีการในการดำเนินการจ้างงานเชิงสังคมและสนับสนุนการประกอบอาชีพ ให้แก่สถานประกอบการในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการจำนวนกว่า 230 คน ณ โรงแรมเบย์ จ.สมุทรปราการ

มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม
เลขที่ 286 อาคารราฟเฟิล คอร์ท
ถนนรัชดาภิเษก 20 (ซอยรุ่งเรือง)
แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง
กรุงเทพฯ 10310
 

let me tell you a bit more bout the link between the new 911 RSR and the Monobloc Actuator 24H-Chronotimer. The 911 RSR is the very first 911 that comes with a flat-six engine positioned in front of the rear axle. While every 911, http://www.skwatches.com/ since its inception, had the engine positioned behind the rear axle, this is certainly something very novel for the brand. replicaswatches.cc As of this year Porsche Design is the official timing partner of Porsche Motorsport, hence the new 911 RSR is adorned with the Porsche Design Timepieces name and logo. Moreover, Porsche Design and Porsche Motorsport have been working together (for quite some time now) on a new watch.